ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014662 รบกวนสอบถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องการสวมสิทธิทางคดีดังนี้ครับนิดหน่อย8 สิงหาคม 2548

    คำถาม
    รบกวนสอบถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องการสวมสิทธิทางคดีดังนี้ครับ

    รบกวนสอบถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องการสวมสิทธิทางคดีดังนี้ครับ Cool

    เนื่องจากเพื่อนผม ( ลูกหนี้ ) ได้ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 40 ที่รัฐบาลได้ประกาศให้ 56 สถาบันการเงินปิดตัวลง ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ธนาคารทหารไทย ( เจ้าหนี้ ) ได้ตามกำหนด หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องดำเนินคดีล้มละลายตามขั้นตอน ซึ่งปัจจุบันศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว และได้มีดำเนินการยึดทรัพย์หลักประกันและได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์ไปแล้วทั้งหมด 7 ครั้ง แต่ขายไม่ได้ ( ทั้ง 7 ครั้ง ) เนื่องจากไม่มีผู้สนใจเข้าสู้ราคา ( ราคาประเมินทรัพย์หลักประกัน ที่ดิน+สปส. 38 ล้านบาท ) และในการขายทอดตลาดทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิการคัดค้านราคาไปแล้ว โดยในการขายครั้งที่ 3 ( เริ่มต้นที่ 50% ราคาประเมิน จบค. ( ปี 2544 ) ลูกหนี้ ( ได้ให้คนรู้จักไปสู้ราคา ) โดยเสนอซื้อทรัพย์ที่ราคา 20 ล้านบาท แต่ถูกเจ้าหนี้ค้านราคาที่ 40 ล้านบาท แต่เนื่องจากเพื่อนของผมกลัวว่าการขายทอดตลาดนัดหน้า ทางเจ้าหนี้จะมาซื้อที่ราคา 40 ล้านบาท ทางลูกหนี้จึงได้ค้านราคาที่ 50 ล้านบาท ในการขายในครั้งดังกล่าว จบค.จึงได้งดการขาย ( สิทธิการค้านราคาของเจ้าหนี้และลูกหนี้สิ้นสุดลง ) ต่อมาในการขายครั้งที่ 4 ไม่มีผู้สนใจซื้อ และตัวลูกหนี้ก็มิได้เข้าซื้อทรัพย์แต่อย่างใด จบค.จึงเรื่มการขายใหม่ ซึ่งทั้งทางเจ้าหนี้และลูกหนี้ก็มิได้เสนอซื้อทรัพย์และไม่มีผู้อื่นสนใจซื้อแต่อย่างใด

    มาจนถึงปัจจุบันได้มีจดหมายจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ ( BAM ) แจ้งลูกหนี้ว่าขณะนี้ BAM ได้สวมสิทธิการเป็นเจ้าหนี้จากแบงค์ฯ แล้ว ( BAM ประมูลซื้อ NPL ) และจะมีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันฯ ในเดือนกันยายนนี้ จึงอยากจะสอบถามท่านอาจารย์ว่า

    1. สิทธิการคัดค้านราคาขายทอดตลาดของเจ้าหนี้ ( BAM ) ยังมีอยู่หรือไม่ เนื่องจากทางธนาคารทหารไทยได้ใช้สิทธิดังกล่าวไปแล้ว เมื่อมีการสวมสิทธิทางคดี โดย BAM ได้ยื่นคำร้องของสวมสิทธิทางคดีต่อศาลแล้ว และศาลมีคำสั่งแล้ว
    2. หากข้อ 1. คำตอบ ( และรบกวนท่านอาจารย์ขอ Detail ด้วยนะครับ ) คือ " มี " แล้ว ..... สิทธิการคัดค้านของลูกหนี้จะยังมีอยู่ด้วยหรือไม่ ???

    PS - เนื่องจากตัวผมเองให้เพื่อนๆซึ่งอยู่ในวงการการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเหล่านี้ ผมจึงได้ตรวจสอบ Purchase Value + Cost + Margin ของทรัพย์หลักประกันดังกล่าวของ BAM และผมได้ทราบว่าเขาซื้อมาราคาค่อนข้างสูงพอสมควร และผมคิดว่าทาง BAM ไม่น่าจะซื้อทรัพย์หลักประกันดังกล่าว เนื่องจากผมเข้าใจว่าทาง BAM ไม่มีนโยบายในการเข้าซื้อทรัพย์หักหนี้ ผมจึงอยากรบกวนท่านอาจารย์อีกคำถามว่าหากไม่มีผู้เข้าซื้อทรัพย์เลย เนื่องจากได้มีการขายหลายครั้งแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายที่เจ้าหนี้จะดำเนินการกับลูกหนี้ได้คืออะไร ???

    ขอบพระคุณมากๆครับ Razz

    คำตอบ

        1.- 2.  การที่ bam ซื้อหนี้นั้นไป ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่บรรดาที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ ดังนั้นถ้าเจ้าหนี้เดิมได้ใช้สิทธิไปแล้ว จนสิ้นสุด bam ก็ย่อมต้องตกอยู่ในฐานะเดียวกัน ส่วนลูกหนี้ก็เช่นเดียวกัน

        ถ้า bam ยังขายไม่ได้ เรื่องก็จะค้างคาอยู่เช่นนั้น คงไม่สามารถไปดำเนินการอย่างไรกับลูกหนี้ได้อีก เพราะลูกหนี้ล้มละลายไปแล้ว

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 สิงหาคม 2548