ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014584 เรื่องการขายบ้านหลังจากกรมบังคับคดีสั่งอายัดกรรณิกา27 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    เรื่องการขายบ้านหลังจากกรมบังคับคดีสั่งอายัด

    คือว่า พี่ชายของดิฉันนำบ้านเข้าจำนองกับธนาคาร  และขาดส่ง ธนาคารจึงทำการฟ้องและวันนี้กรมบังคับคดีได้มายื่นหมายอายัดบ้าน  โดยแจ้งว่ากรมบังคับคดีได้สำรวจที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วประเมินราคาได้ประมาณ 700,000 บาท  และทางพี่ชายดิฉันติดหนี้ธนาคารอยู่ประมาณ 500,000 บาท  ทางกรมบังคับคดีของอายัติบ้านหลังนี้ไว้  ดิฉันจึงโทรหาเจ้าหน้าที่ของกรมฯ เขาแจ้งว่าจะมีอายุความ 3 เดือน และให้ทางดิฉันไปติดต่อชำระหนี้กับธนาคารเอง และให้ทางธนาคารแจ้งยกเลิกมาที่กรมบังคับคดี  เขาจึงจะถอนเรื่องออกได้  ขอเรียนถามว่า เป็นไปเช่นนั้นหรือไม่  แสดงว่าในระยะที่เราหาเงินมาเคลียกับธนาคาร เรายังคงอยู่อาศัยในบ้านนี้ได้ตามปกติใช่หรือไม่

    และอีกกรณีก็คือ  ถ้าน้าสาวของดิฉัน (ซึ่งนามสกุลเดียวกับพี่ชาย) ได้เป็นผู้มาไถ่ถอนบ้านกับธนาคาร และทำการโอนชื่อบ้านหลังนี้เป็นของน้า  ..  ในขณะเดียวกับที่พี่ชายยังมีเรื่องกับสถาบันการเงินอื่น ๆ ในคดีแพ่งอยู่  ทางสถาบันการเงินนั้นจะหาว่าเราโยกทรัพย์หรือไม่  และเขาสามารถเอาผิดกับน้าสาวดิฉันได้อีกหรือไม่

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    คำตอบ

        ถ้าได้นำเงินไปชำระหนี้จนเจ้าหนี้พอใจแล้ว เขาก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะบังคับขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นอีก เพราะในเวลาที่นำเงินไปชำระหนี้นั้นก็ต้องให้ธนาคารเขาปลดจำนองให้ด้วย ส่วนกรณีที่มีคนอื่นจะไปไถ่ถอนนั้น ถ้าต้องการให้เขาเป็นเจ้าของ (จะเป็นจริงหรือเป็นในนามก็แล้วแต่) ก็ควรต้องทำเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายกันโดยขายไปทั้งจำนองแล้วผู้ซื้อนำเงินไปไถ่จำนองโดยตรง โดยทั้งหมดนี้ให้ทำพร้อมกัน ณ สำนักงานที่ดิน

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 กรกฎาคม 2548