ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014400 ผิดสัญญาเช่าบ้านเอกวิทย์1 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    ผิดสัญญาเช่าบ้าน

    ผู้เช่าทำสัญญาเช่าตึกแถวและลงลายมือไว้ในสัญญากำหนด 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 48- 19 เมษายน 49 อัตราค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท โดยให้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่ผู้ให้เช่าภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เงินประกันการเช่า 37,000บาท เป็นประกันความเสียหายในอาคารเช่าและเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้เช่า ในระหว่างอายุสัญญาผู้เช่าจะไม่เรียกร้องให้นำเงินจำนวนนี้หักลบกับค่าเช่า ค่าเสียหาย หรือหนี้อย่างใด ๆ ที่ผู้เช่าพึงต้องชำระ หากผู้เช่าผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าริบเงินประกันการเช่าและผู้ให้เช่าเข้าครอบครองทรัพย์สินโดยพลัน และเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่า และผู้ให้เช่าตรวจรับสถานที่เช่าตามสัญญานี้ในสภาพเรียบร้อย ไม่ค้างค่าไฟฟ้า ประปาโทรศัพท์ ผู้ให้เช่ายินยอมคืนเงินประกันการเช่าแก่ผู้เช่า และการที่ผู้เช่ายังครอบครองสถานที่เช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ทักท้วง มิได้หมายความว่าผู้ให้เช่าขยายเวลาการเช่าออกไป การต่ออายุสัญญาเช่าให้กระทำเป็นหนังสือ ซึ่งผู้เช่าก็ได้ชำระค่าเช่าดังกล่าวตามกำหนดมาโดยตลอด แต่เนื่องจากผู้เช่าประสบปัญหาทางด้านการเงินจึงไม่สามารถชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 5 ของเดือนมิถุนายน 2548 ให้แก่ผู้เช่าได้ โดยขอเลื่อนกำหนดการชำระเงินไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนหรือหลังวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ด้วยวาจา ซึ่งผู้ให้เช่าก็รับทราบ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.48 ผู้ให้เช่ามีหนังสืออ้างว่าได้พยายามติดต่อทางโทรศัพท์มอืถือและฝากข้อความเมื่อวันที่ 22-23 มิถุนายน 48 แล้ว ก็มิได้รับการติดต่อกลับ จึงแจ้งว่าผู้เช่าทำผิดสัญญาจึงให้ย้ายออกจากตึกดังกล่าวภายในวันที่ 30 มิ.ย.48 พร้อมทั้งส่งคืนกุญแจและนัดหมายการส่งคืนทรัพย์สินที่อยู่ในห้องพักของผู้ให้เช่า หากไม่ดำเนินการก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และพูดด้วยวาจาว่าจะริบเงินประกันการเช่าทั้งหมดด้วย ดังนั้นผู้เช่าจึงไม่กล้าชำระเงินค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าอีก เพราะเกรงว่าหากชำระไปก็จะต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ผู้ให้เช่าอีก ในกรณีนี้ จึงใคร่ขอคำปรึกษาหารือดังนี้

    1. สัญญานี้เป็นสัญญาไม่เป็นธรรมหรือไม่ เพราะเป็นการที่ผู้เช่าต้องชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าก่อนในวันที่ 5 ทั้งที่เพิ่งอยู่ได้ 5 วันและการที่ให้ผู้เช่าออกโดยพลันและริบเงินประกันการเช่าทั้งที่การอยู่ในที่เช่ายังไม่ครบกำหนด 1 เดือน นั้น เป็นการถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่

    2. การกระทำผิดสัญญาด้วยเหตุที่ประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระเงินค่าเช่าได้และขอผ่อนผันไปชำระในระหว่างช่วงก่อนหรือหลังวันที่ 20 มิ.ย.48 ซึ่งผู้ให้เช่าก็ยินยอม แต่เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.48 ผู้ให้เช่ากลับแจ้งว่ากระทำผิดสัญญาแล้วให้ออกจากบ้านเช่าโดยพลันนี้ ผู้ให้เช่าจะมีสทิธิริบเงินประกันการเช่าหรือไม่ และการที่ผู้ให้เช่าสั่งให้ออกจากที่เช่าโดยพลันนั้น จะขอทุเลาชะลอโดยยังไม่ออกจากบ้านเช่าได้หรือไม่ เนื่องจากยังหาบ้านเช่าไม่ได้ และหากต้องอยู่บ้านเช่าดังกล่าวไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างหาบ้านเช่าใหม่นั้น จะต้องเสียค่าเช่าอีกหรือไม่ จะให้เอาเงินประกันค่าเช่าหักเป็นค่าเช่าได้หรือไม่

    3.ตามสัญญาผู้เช่าเสียเปรียบแทบทุกด้านจะมีแนวทางในการต่อสู้คดีในกรณีดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง

    ขอความกรุณาตอบด่วนด้วย

    ขอบพระคุณมาก

    คำตอบ

        1.สัญญาเช่าเป็นสัญญาที่คู่กรณีต่างทำกันโดยใจสมัคร แม้จะไม่เป็นธรรม (ในความรู้สึกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง) แต่ก็ไม่เป็นเหตุให้ไปแก้ไขหรือทำอะไรได้ เพราะต่างสมัครใจที่จะทำเช่นนั้น เว้นแต่เป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย  เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นสัญญาที่ฝ่ายหนึ่งจัดทำเป็นแบบไว้ และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีโอกาสที่จะแก้ไขหรือเจรจาตกลงกันได้

       2. ถ้าได้เคยตกลง (แม้ด้วยวาจา) ว่าผู้ให้เช่ายอมผ่อนผันการชำระค่าเช่าให้ สัญญานั้นก็ยังไม่อาจบอกเลิกได้ เพราะไม่ถือว่าผู้เช่าผิดสัญญา

       3. การจะรู้แนวทางการต่อสู้ ก็ต้องไปปรึกษาทนายความ

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 กรกฎาคม 2548