ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014330 คดีจราจรนิมิต23 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    คดีจราจร

    สวัสดีครับอาจารย์ผมมีเรื่องจะรบกวนเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ ในคดี ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ที่มีโทษปรับสถานเดียว เช่น รถยนต์ชนกันเสียหาย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หากฝ่ายผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบปรับในอัตรโทษสูงสุด แต่ฝ่ายเจ้าของรถคันที่ได้เปรียบซึ่งเป็นผู้เสียหายในทางแพ่งไม่ยินยอมให้ พงส.เปรียบเทียบปรับ พงส.จะทำการปรับผู้ต้องหาในอัตราโทษสูงสุดได้หรือไม่ครับ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 37 ซึ่งมี พงส.บางท่านให้ความเห็นว่าไม่สามารถปรับได้ ซึ่งเป็นคดีที่มีค่าทดแทน ผู้เสียหายตาม มาตรา 38 ให้รวมถึงผู้เสียหายในทางแพ่งด้วย และมีบางคนให้ความเห็นว่า พงส.ปรับได้ ตาม ป.อ. มาตรา 79 เช่นกัน ซึ่งทำให้ผมไม่แน่ใจว่าจะเชื่อใครดี

    คำตอบ

          การเสียค่าปรับตามมาตรา ๓๗(๑) เพื่อให้คดีอาญาเลิกกัน เป็นเรื่องของผู้กระทำผิดฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวกับพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหาย  ส่วนอำนาจของพนักงานสอบสวนในการเปรียบเทียบปรับตามมาตรา ๓๘ นั้น เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้เปรียบเทียบ จึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายด้วย

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มิถุนายน 2548