ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014309 บ้านถูกขายทอดตลาดน้อย20 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    บ้านถูกขายทอดตลาด

    สวัสดีค่ะ  อาจารย์มีชัย

               ดิฉันมีเรื่องรบกวนขอเรียนถามอาจารย์มีชัย  ดังนี้ค่ะ

              ดิฉันได้ซื้อคอนโดแห่งหนึ่งเมื่อประมาณปี 2538  ราคาประมาณ 700,000  บาท  และได้ผ่อนส่งมาตลอด  จนกระทั่งประสบภาวะเศรษฐกิจในปี  2540  ไม่สามารถส่งเงินงวดต่อไปได้  จึงขาดส่งตั้งแต่ปี  2541 เป็นต้นไป  โดยมีเงินต้นค้างชำระกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ประมาณ  430,000  บาท  และได้ไปติดต่อขอประนอมหนี้กับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์  แต่ธนาคารไม่ยอมลดเบี้ยปรับ  ดอกเบี้ยเพิ่ม  หรือเงินต้นใดๆ  ทั้งสิ้น  ทำให้การประนอมหนี้ไม่สำเร็จ  และดิฉันก็ไม่ได้ส่งเงินงวดให้กับธนาคารฯ  อีกจนถึงปัจจุบัน  

             ต่อมา  ได้มีหนังสือจากกรมบังคับคดี  ว่าจะนำคอนโดของดิฉันไปขายทอดตลาดในเดือน  ก.ค.48  และ  ส.ค.48  รวม  4  ครั้ง  ดิฉันจึงขอเรียนถาม อ.มีชัย  ดังนี้

            1.  ดิฉันมีสิทธิ์ในการไปคัดค้านราคาหรือไม่  เพราะดิฉันมีเงินต้นค้างกับธนาคารประมาณ  430,000  บาท  ไม่รวมเบี้ยปรับ  ดอกเบี้ย  หรือเงินอื่นๆ  ที่ธนาคารฯ คิดกับดิฉัน  แต่กรมบังคับคดีได้ประเมินราคาคอนโดไว้ที่  320,000  บาท   หากจะไปคัดค้านจะต้องไปคัดค้านในครั้งแรกหรือทุกครั้งที่ขายทอดตลาด

           2.  หากดิฉันไปคัดค้านราคาในการขายทอดตลาดตามข้อ  1  แล้ว  ดิฉันถือเสมือนไปทำสัญญาประนอมหนี้กับธนาคารหรือไม่  และจะไม่ผลอย่างไรบ้างกับดิฉันหลังการคัดค้านราคา  เช่น  ยอมรับ/ชดใช้การเป็นหนี้  หรือมีการผูกมัดอะไรในภายหลังหรือไม่

         3.  ดิฉันสมควรจะไปคัดค้านราคาหรือไม่  ช่วยกรุณาอธิบายสิทธิ์  หรือผลกระทบจากการที่ไปคัดค้านราคา  และไม่ไปคัดค้านราคาให้ดิฉันทราบโดยละเอียดด้วยค่ะ 

        4.  ทำอย่างไรธนาคารอาคารสงเคราะห์  จึงจะยอมผ่อนปรนหรือลดหนี้ค้างชำระ  ดอกเบี้ย  ค่าปรับ  ให้กับดิฉันบ้าง  เพราะเท่าที่ทราบมา  ธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่ง  จะยอมลดหนี้ดอกเบี้ย  ค่าปรับให้กับลูกหนี้

          5.ปัจจุบัน  ดิฉันโดนแบล็กลิส จากทางธนาคาร  ไม่สามารถกู้เงิน/ทำบัตรเครดิตใดๆ  ได้เลย  หากดิฉันยินยอมผ่อนส่งหนี้ค้างดังกล่าว  ดิฉันจะสามารถเคลียร์แบล็กลิสนี้ได้หรือไม่

        6.  กรุณาให้คำแนะนำดิฉันด้วยคะ  ว่าสมควรทำอย่างไรต่อไปดีคะ

      กรุณาช่วยตอบด้วยนะคะ  ขอบคุณมากคะ

                                                                          น้อย

     

    คำตอบ

    เรียน คุณน้อย

        1. ในการประมูลขายนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิไปดูแล และหากราคานั้นไม่สมเหตุสมผล ก็มีสิทธิยื่นคำคัดค้านได้ และถ้ามีการประมูลหลายครั้ง ก็ต้องไปดูแลทุกครั้ง เว้นแต่จะไม่สนใจในราคา  สำหรับวิธีการที่ดีนั้น ถ้าไม่มีทนายความ ก็ควรไปหาเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อน เพื่อจะไต่ถามถึงวิธีการที่ทำได้หรือควรทำและเงื่อนไขในการคัดค้าน

        2. ไม่เกี่ยวกับการประนอมหนี้ เพราะหนี้มีอยู่เท่าไร ย่อมเป็นไปตามคำพิพากษาซึ่งคงได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้ว

        3. ดูคำตอบข้อ 1.

        4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นหน่วยงานของรัฐ การประนอมหนี้ย่อมทำได้ยาก เพราะคนที่ยอมให้ประนอมหนี้อาจถูกร้องเรียนและถูก ปปช.เล่นงานเอาในภายหลังได้

        5. การ blacklist นั้นไม่มี  มีแต่ประวัติของบุคคลเกี่ยวกับหนี้สินกับสถาบันการเงิน ซึ่งเขาจะบันทึกไว้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสถาบันการเงินที่จะตรวจสอบดูว่า คนที่จะมาขอกู้เงินเขานั้นมีประวัติในการชำระหนี้อย่างไร เมื่อรู้แล้ว เขาก็นำไปประกอบการพิจารณาว่าจะสมควรให้กู้หรือไม่  ประวัติดังกล่าวจึงย่อมจะติดตัวไปตลอด แต่ก็ไม่ได้มีอะไรห้ามว่าสถาบันการเงินจะให้กู้ไม่ได้ เขาอาจให้กู้ถ้าวัตถุประสงค์ในการกู้ และหลักประกันที่เขาจะได้รับ มีความมั่นคงพอที่เขาจะไม่ต้องเสี่ยง เขาก็อาจให้กู้ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 มิถุนายน 2548