ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014217 โอนที่พร้อมบ้านระหว่างจำนองพร9 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    โอนที่พร้อมบ้านระหว่างจำนอง

    ดิฉันรับโอนที่ดินพร้อมบ้านของคุณแม่ซึ่งยังติดจำนองอยู่กับธนาคาร โดยดิฉันรับภาระชำระหนี้ต่อ ธนาคารเจ้าหนี้อนุมัติการโอนระหว่างจำนองโดยมีการทำสัญญาระหว่างดิฉันกับธนาคารและคุณแม่เป็นผู้ค้ำประกัน  ซึ่งการโอนนี้ทำเมื่อปี2540 ขณะที่ดิฉันอายุ 25 ปี ดิฉันได้ผ่อนชำระตามกำหนดมาตลอด  ต่อมาคุณแม่ถูกธนาคารอื่นฟ้องเมื่อปี 2541ศาลตัดสินให้ชำระหนี้เมื่อปี2546 ธนาคารเจ้าหนี้ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับคดี ต่อมาคุณแม่ถูกฟ้องล้มละลายจากบริษัทเงินทุนที่รับซื้อหนี้ที่ไม่มีหลักประกันต่อจาก บ.ไฟแนนท์ที่ถูกปิดกิจการ เมื่อต้นปี 2547 ศาลล้มละลายตัดสินพิทักษ์ทรัพย์เมื่อ พค. 47เรื่องยังอยู่ที่กรมบังคับคดี 

    ถามว่า ที่ดินและบ้านซึ่งโอนให้ดิฉันดังกล่าว  เจ้าหนี้จะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ หากคดีของคุณแม่ถูกตัดสินให้ล้มละลาย  ปัจจุบันภาระหนี้ในการผ่อนบ้านของดิฉันยังมีค้างอยู่ไม่มาก  และดิฉันยังผ่อนชำระอยู่ตามปกติ

    คำตอบ

         หนี้ที่เป็นอยู่กับธนาคารได้ถูกโอนมาเป็นหนี้ของคุณแล้ว โดยมีที่ดินเป็นหลักประกัน ดังนั้นหนี้รายดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับคดีล้มละลายของผู้เป็นมารดา และการโอนที่ดินนั้นไม่ได้ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิมาเพิกถอนได้

     

     

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 มิถุนายน 2548