ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014205 หมิ่นประมาทเชษฐ์7 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    หมิ่นประมาท

    1.  ก.พูดกับ ข. ว่า ค.เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อ ง. มาก ถือว่าหมิ่น ค.หรือไม่ครับ

    2.  การหมิ่นประมาทนั้นหากผู้เสียหายขอถอนฟ้องในชั้นสอบสวน  แล้วสามารถนำมาฟ้องกับศาลโดยตรงใหม่ได้หรือไม่

    คำตอบ

        1. เพียงเท่านี้ยังไม่อาจบอกได้หรอกว่าเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับว่า ก กับ ข.เป็นอะไรกับ ง. และที่ว่ามีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายนั้นหมายถึงอย่างไร  เช่น ถ้า ก.กับ ข.เป็นพ่อแม่ของ นางสาว ง. และ นาย ค.ซึ่งมีนิสัยเจ้าชู้มาตามแทะโลมนางสาว ง. การที่ ก.พูดกับ ข เช่นนั้น ก็อาจไม่เป็นหมิ่นประมาท

        2. ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานภายในอายุความ จึงไปฟ้องร้องเป็นคดีได้ ถ้าไปร้องทุกข์แล้วไปถอนคำร้องทุกข์เสีย ก็จะไปฟ้องโดยตรงไม่ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 มิถุนายน 2548