ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013712 ขายฝาก จำนองสุรินทร์15 เมษายน 2548

    คำถาม
    ขายฝาก จำนอง

    กราบเรียน ท่านอาจารย์มีชัย

    เนื่องจากตอนนี้ คนที่ผมรู้จัก จะนำที่ดินชานเมืองประมาณ 4 ไร่ (ราคาประเมิน 2,500,000) มาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอกู้เงินจากผม 500,000 บาท เขาจะกู้เป็นเวลา 8 เดือนครับ

    ผมอยากขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ว่า กรณีที่ผมจะให้เขากู้เงิน ผมควรจะเอาที่ดินของเขา ทำเป็น สัญญาขายฝาก หรือ สัญญาจำนอง ดีครับ เผื่อว่าวันหน้าเขาไม่ชำระหนี้คืนให้ผมน่ะครับ  สัญญาสองอย่างนี้มีผลแตกต่างกันอย่างไรครับ และขายฝาก กับ จำนอง ต้องทำสัญญาเป็นระยะเวลาอย่างน้อยกี่เดือนหรือกี่ปีครับ  และค่าใช้จ่ายในการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ต่างกันมากไหมครับ  ด้วยความขอบคุณยิ่งครับ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณสุรินรินทร์

          ในแง่ของกฎหมายและหลักประกันของเจ้าหนี้ การขายฝากย่อมดีกว่า เพราะเมื่อถึงกำหนดก็ไม่ต้องไปฟ้องศาล หากแต่ที่ดินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาดเพราะได้มีการจดทะเบียนการโอนไว้เรียบร้อยแล้ว  เพียงแต่ในการขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมอย่างการซื้อขายธรรมดา คือ ร้อยละ 2.5 ของราคาที่ดินที่ประเมิน โดยไม่มีวงเงินขั้นสูง คือคำนวณได้เท่าไรก็ต้องเสียเท่านั้น ส่วนการจดทะเบียนจำนองนั้นมีขั้นสูงว่าต้องเสียไม่เกินหนึ่งแสนบาท (หรือสองแสนบาทก็ไม่แน่ใจ)

     

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 เมษายน 2548