ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012936 อ้างว่าไม่รู้กฎหมายกันย์ระกา25 มกราคม 2548

    คำถาม
    อ้างว่าไม่รู้กฎหมาย

    ผมมีข้อสงสัยดังนี้ครับ...

    1. หลักการใช้กฎหมายที่ว่าทุกคนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้นั้นนอกจากใน ม.64 ป.อาญา แล้วมีบัญญัติไว้ที่ใดอีกบ้างครับ  เพราะมาตราดังกล่าวใช้บังคับได้เฉพาะในกรณีคดีอาญาเท่านั่น  ความเห็นของผมถูกมั้ยครับ  ดังนั้นในกรณีอื่น ๆ หากมีผู้อ้างว่าไม่รู้กฎหมาย  เราจะอ้างหลักอะไรมายันได้ครับ

    2. ที่ว่ากฎหมายเมื่อประกาศในราชกิจจาฯ แล้วให้ถือว่าทราบโดยทั่วกัน  หลักดังกล่าวมีบัญญัติไว้ที่ใดบ้างครับ...

                   ขอบคุณครับ...

    คำตอบ

        1. กฎหมายอาญานั้น เป็นกฎหมายที่กำหนดว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิด ซึ่งมีทั้งที่เป็นไปตามธรรมชาติ และที่ฝืนธรรมชาติ เมื่อใดที่บุคคลไม่กระทำตามย่อมมีความผิด คนบางคนอาจจะอ้างว่าไม่รู้ว่ามีกฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นความผิดได้ จึงต้องวางหลักเป็นการทั่วไปว่าอ้างไม่ได้  ซึ่งก็ฝืนธรรมชาติ เพราะบางทีก็ไม่ร้จริง ๆ เหมือนกัน กฎหมายจึงมีข้อยกเว้นไว้ให้ว่า ถ้าไม่รู้จริง ๆ ก็อาจได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษได้  แต่สำหรับกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่เป็นกฎหมายอาญานั้น เป็นเรื่องว่าด้วยผลแห่งการกระทำ หรือความสัมพันธ์ของบุคคล  ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเมื่อมีการกระทำอย่างหนึ่ง ผลจะเป็นอย่างไร หรือเมื่อมีความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเกิดผลอย่างใด อันเป็นผลที่กฎหมายกำหนดขึ้น  บุคคลจึงจะอ้างไม่ได้ว่าไม่รู้ เพราะไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ ผลก็จะเกิดเช่นนั้น ตามกฎหมาย   เช่น กฎหมายกำหนดว่าบุคคลเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ย่อมบรรลุนิติภาวะ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ ผลก็เกิดขึ้น คือ บรรลุนิติภาวะ

        2. หลักตามมาตรา ๙๓ ของรัฐธรรมนูญที่ว่า "....เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้"

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มกราคม 2548