ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012889 ผลของการจดทะเบียนคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเฉลิมพล19 มกราคม 2548

    คำถาม
    ผลของการจดทะเบียนคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย  ตามคำถามท่ 012873   ลงวันที่  16  มกราคม 2548  ซึ่งท่านอาจารย์ได้ให้ความกรุณาตอบว่าการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การเรียกเก็บเงินนั้นก็เป็นเรื่องของความตกลงระหว่างกัน อันเป็นสิทธิหรือหน้าที่เฉพาะตัว ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อใครเป็นหนี้ก็ต้องไปเอาจากคนนั้น จะไปเอาจากผู้รับโอนทรัพย์สินไม่ได้  นั้น

             การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจดตั้งขึ้นด้วยกฎหมายใดครับ  และผลของการจดทะเบียนจะทำให้ความรับผิดของลูกหนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรครับ  กล่าวคือหากลูกหนี้ขายบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วคณะกรรมการซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากตัวบ้านนั้นหรือผู้รับโอนบ้านได้หรือไม่ครับ

                ขอความกรุณาตอบเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยครับขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

                            เฉลิมพล

    คำตอบ
    เรียน คุณเฉลิมพล เป็นไปตาม พรบ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งเปิดช่องทางให้ผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรรวมตัวกันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ได้ และเมื่อจดทะเบียนแล้ว ย่อมเกิดสิทธิและอำนาจในการเรียกเก็บเงินจากเจ้าของที่ดินที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน เพื่อไว้ใช้จ่ายเป็นส่วนกลางได้ หากติดค้างไม่ชำระ เจ้าของที่ดินอาจถูกห้ามทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ สนใจอยากรู้รายละเอียด ลองเปิดไปที่ lawreform.go.th ไปที่กฎหมายปัจจุบัน ไปที่ ก. แล้วดู พรบ.การจัดสรรที่ดิน ม.๔๕ เป็นต้นไป
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 มกราคม 2548