ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012882 ปัญหาตาม ป.วิ.อาญา ใหม่พนักงานสอบสวน17 มกราคม 2548

    คำถาม
    ปัญหาตาม ป.วิ.อาญา ใหม่

    ตาม ป.วิ.อาญา (ฉ.22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้แต่ 24 ธ.ค.2547 มีบางมาตราที่ยังมีข้อสงสัยและบางมาตรามีความเห็นไม่ตรงกัน  จึงขอเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้

                1. มาตรา 83 และ 84 กรณีเป็นการจับนอกเขตท้องที่เกิดเหตุ เมื่อจับได้แล้วนำตัวไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ  เมื่อผู้จับและตำรวจผู้รับมอบตัวได้แจ้งสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว  หลังจากนั้นจึงได้นำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ (ท้องที่เกิดเหตุ)  ถามว่า ตำรวจผู้รับมอบตัวผู้ถูกจับแห่งท้องที่เกิดเหตุจะต้องแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับอีกครั้งหนึ่งหรือไม่

                2. มาตรา 84 ....ผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83  กฎหมายใช้คำว่า "โดยทันที" แทนที่จะใช้คำว่า "โดยเร็ว" หรือ "โดยไม่ชักช้า" จึงมีข้อสงสัยว่า  หลังจากจับตัวผู้ถูกจับได้แล้วผู้ถูกจับให้การรับสารภาพ  เจ้าพนักงานผู้ทำการจับสามารถนำตัวผู้ถูกจับไปค้นหาของกลาง  เช่น  อาวุูธปืนที่ใช้ยิง , ทรัพย์ที่ลัีกมา ฯลฯ  ซึ่ีงนำไปทิ้งหรือซุกซ่อนไว้ ในที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป ก่อนที่จะนำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนได้หรือไม่

                3. มาตรา 134 วรรคท้าย  มีความเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย  ฝ่ายแรกเห็นว่า กรณีขณะนั้นเ็ป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดทำการ  หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่สั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเืพื่อออกหมายขังในโอกาสแรกที่ศาลเปิดทำการ  พนักงานสอบสวนสามารถจับผู้ต้องหานั้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ   ฝ่ายที่สองเห็นว่า  จับไม่ได้ต้องขอหมายจับจากศาลก่อน    โดยให้ความเห็นว่า ในเมื่อผู้ต้องหาอยู่ที่บ้านจะไปรู้ได้อย่างไรว่าต้องไปศาล  ซึ่งความเห็นของผู้ถามเห็นด้วยกับฝ่ายแรกว่าจับได้และไม่จำเป็นต้องขอหมายจับจากศาลก่อน  เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว  เพราะแม้ัผู้ต้องหาจะอยู่บ้านก็จริงแต่ก่อนหน้านั้นก็ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานสอบสวนแล้วจึงได้กลับบ้านไป  เมื่อไม่ไปศาลตามคำสั่งจึงถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้โดยไม่มีหมายจับ  จึงขอความกรุณาท่านอาจารย์วินิจฉัยชี้ขาดด้วยครับ

    คำตอบ

    เรียน พนักงานสอบสวน

           1. ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับและนำตัวไปส่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ๆ ก็ไม่ต้องแจ้งอีก เพราะเจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งให้ทราบในทันทีอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นราษฎรเป็นผู้จับ ราษฎรไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งดังกล่าว  ดังนั้นเมื่อผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจึงต้องแจ้งให้ทราบตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๔ (๒)

           2. ไม่ได้ เพราะสิ่งที่จะทำนั้นเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน

           3. ถ้าเป็นเวลาที่ศาลปิดหรือใกล้จะปิดที่ทำการ เจ้าพนักงานก็ได้แต่ปล่อยตัวไปและนัดหมายให้ไปศาลในโอกาสแรกที่ศาลเปิดที่ทำการ  ต่อเมื่อผู้ต้องหาไม่ไปศาลตามกำหนดแล้ว เจ้าพนักงานจึงจะมีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 มกราคม 2548