ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012872 การแบ่งที่ดินนิ่ม16 มกราคม 2548

    คำถาม
    การแบ่งที่ดิน
    เรียน อ.มีชัยฯ
    เมื่อปีก่อนแม่ให้ลูกทั้ง 7ใส่ชื่อในโฉนดเดียวกัน โดยไม่ได้แบ่งว่าของใครเท่าใหร่ เพราะบ้านแต่ละหลังก็ปลูกสร้างมานานโดยสร้างติด ๆ กัน แต่มีน้องคนหนึึ่งที่ยังไม่ได้ปลูกสร้างอะไรเพราะไม่ได้อยู่ที่นี่ และมีที่ดินหลายไร่อยู่แล้ว แต่พอทะเลาะกับน้องอีกคนและต้องการที่ตรงที่เป็นที่จอดรถของเขา แต่น้องไม่ให้เพราะทำที่จอดรถมาสิบปีแล้ว และเขาได้ปรึกษาทนายแล้วว่าจะเรียกร้องสิทธิ์ให้ได้เท่าคนอื่น ๆ บ้านที่สร้างก่อนก็เล็กบ้างใหญ่บ้างไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้ถ้าได้ไม่เท่ากันเขาจะให้จ่ายเป็นเงินแทน ทั้งนี้เนื้อที่ทั้งหมดแค่ 2 งานกว่า ๆ แต่แบ่งเป็น 8ส่วน คือแม่และลูกทั้ง 7 อย่างนี้บ้านอื่น ๆ ก็ต้องจ่ายเงินให้เขาด้วยใช่ไหมคะ บ้านหนูเขาให้ทนายมาวัดด้วย  30 ตารารางวา คิดดูแล้วหาร 8 แล้วก็คงเกิน ทำอย่างไรดีคะหนู ขอบคุณค่ะ
    คำตอบ

    เรียน คุณนิ่ม

     

          ในระหว่างที่แม่ยังไม่ได้ใส่ชื่อใครในโฉนด แต่ละคนที่ปลูกบ้านอยู่ก็โดยอาศัยสิทธิของแม่ เข้าทำนองอาศัยแม่อยู่  อายุความครอบครองปรปักษ์จึงยังไม่อาจนับได้  ดังนั้นเมื่อแม่ใส่ชื่อลูกโดยไม่กำหนดสัดส่วน จึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมเท่า ๆ กัน  เมื่อใครครอบครองเกิน ก็คงต้องจ่ายเงินให้แก่คนอื่น  แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องในครอบครัว ถ้าแม่ยังอยู่ ก็อาจจะเรียกมาพูดจากตกลงกันได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มกราคม 2548