ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012848 ธนาคารปฏิบัติไม่เป็นธรรม(สัญญาค้ำฯ)Toon12 มกราคม 2548

    คำถาม
    ธนาคารปฏิบัติไม่เป็นธรรม(สัญญาค้ำฯ)

    เรียนถามอาจารยมีชัยดังนี้ เดิมคุณพ่อเอาที่ดินไปจดจำนองวงเงิน 1 ล้านบาทกับธนาคารเพื่อเงินกู้ 1 ล้านบาทให้พี่ชาย ในทางปฎิบัติของธนาคารจะต้องให้ผู้จำนองทำสัญญาค้ำประกันส่วนตัวไว้ด้วย ดังนั้นนอกจากสัญญาเงินกู้ของพี่ชาย สัญญาจำนองที่ดินคุณพ่อแล้ว ก็มีสัญญาค้ำประกันของคุณพ่อด้วยเท่าวงเงินจำนอง 1 ล้านบาท ไม่นานหนี้ก็มีปัญหา คุณพ่อไม่ต้องการมีภาระเพราะท่านแก่แล้ว เป็นข้าราชการบำนาญ พี่ชายจึงให้โอนที่ดินให้เป็นชื่อพี่ชาย พร้อมกับระบุในสัญญาให้ที่ดิน(ระหว่างจำนอง) ว่า ให้ระหว่างจำนอง โดยผู้รับยอมรับภาระจำนองต่อไปตามสัญญาจำนองเดิม เมื่อโอนให้แล้ว 1 เดือน พี่ชายก็ไปทำเพิ่มวงเงินกู้และวงเงินจำนองเป็น1.5 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้คุณพ่อก็คิดว่า ท่านไม่มีภาระใดๆกับหนี้ของพี่ชายอีกแล้วหลังจากที่ยกที่ดินให้พี่ชาย นอกจากนี้มูลค่าที่ดินเวลานั้นก็คุ้มหนี้  มิฉะนั้นธนาคารก็ไม่มีเหตุผลให้เพิ่มวงเงิน แต่จากนั้นหนี้ก็เสียอีก แล้วมีการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (เข้าใจว่าทำเพียงมิให้หมดอายุความการคิดดอกเบี้ย ในสัญญาใหม่ธนาคารก็นำดอกเบี้ยมาเป็นเงินต้นทำสัญญาใหม่) โดยคุณพ่อไม่ทราบเรื่องใดๆ ล่าสุดธนาคารก็ทวงถามมาอีก เพราะหนี้ไม่ได้ถูกแก้ไขใด จนดอกเบี้ยท่วมเงินต้นใหม่ และมูลค่าที่ดินน้อยกว่าหนี้ที่ทวงมาแล้ว (หนี้ 3 ล้านบาท ที่ดินขายทอดตลาดคงได้แค่ 1 ล้านเศษๆ) ธนาคารได้ทวงคุณพ่อด้วยในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้ แต่คุณพ่อไม่ทราบเพราะคุณพ่อเสียชีวิตแล้ว ดังนั้นขอเรียนถามว่า กรณีผมเป็นทายาทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง เพราะกรณีนี้เห็นว่า สัญญาที่คุณพ่อเซ็นค้ำฯเป็นวิธีปฏิบัติของธนาคารที่ต้องมีพร้อมสัญญาจำนอง (สัญญาไม่เป็นธรรม) และหากว่า การโอนที่ดินให้พี่ชายไม่ทำให้คุณพ่อหลุดจากการค้ำประกัน ก็ไม่มีเหตุผลที่ธนาคารจะให้โอนที่ดินให้พี่ชายและเปลี่ยนผู้จำนองและพี่ชายก็ไม่สามารถไปทำสัญญาเพิ่มวงเงินกับธนาคารอีกได้ (หากฟ้องขายทอดตลาดเวลานั้นในขณะที่ดอกเบี้ยยังน้อยอยู่มูลค่าที่ดินน่าจะคุ้มครองหนี้ได้และไม่เสียหายมากเช่นนี้ และหากธนาคารนี้ล้ม หนี้ถูกขายออกไปให้ พวกฝรั่ง ก็คงได้ลดหนี้จำนวนมาก ลูกหนี้ไม่เดือดร้อนมาก)

     

    คำตอบ

    เรียน Toon

          การทำสัญญาจำนอง เรียกว่าเป็ฯการค้ำประกันด้วยทรัพย์ ส่วนการค้ำประกันเป็นการค้ำประกันด้วยบุคคล  เจ้าหนี้จึงมีหลักประกันถึง ๒ ด้าน  การโอนที่ดินใหัคนอื่นโดยติดจำนองไปด้วย ก็เท่ากับที่ดินนั้นยังเป็นหลักประกันให้แก่เจ้าหนี้ ส่วนผู้ค้ำประกันก็ยังคงมีฐานะอยู่ตามเดิม  แต่การที่มีการเพิ่มวงหนี้ ปรับหนี้ใหม่ กันในภายหลัง จะผูกพันผู้ค้ำประกันหรือไม่ ก็ต้องขึุ้นอยู่กับสัญญาค้ำประกันว่าครอบคลุมมากน้อยเพียงไร  แต่ถ้าเป็นธนาคาร ก็เชื่อได้ว่าคงครอบคลุมไว้หมด ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงจะยังคงไม่หลุดพ้นจากหนี้นั้น  อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ค้ำประกันตายแล้ว หากเจ้าหนี้จะติดตามเอาหนี้จากผู้ค้ำประกัน ก็คงไม่ได้อะไร เพราะไปเรียกเอาจากทายาทไม่ได้ เว้นแต่ทายาทได้รับมรดกมา ทายาทก็คงต้องรับผิดเพียงเท่าที่เป็นมูลค่าของมรดกที่ได้รับมาเท่านั้น  เช่น มีหนี้อยู่ ๑ ล้านบาท ทายาทได้รับมรดกมา หนึ่งหมื่นบาท  ทายาทก็คงต้องรับผิดเพียงแค่หนึ่งหมื่นบาท ส่วนที่เหลือก็เรียกเอาอีกไม่ได้ และเมื่อทายาทชำระให้แล้ว ก็สามารถไปเรียกคืนจากลูกหนี้ได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 มกราคม 2548