ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012834 ค่าสินไหมจากการประกันวินาศภัยสืบศักดิ์10 มกราคม 2548

    คำถาม
    ค่าสินไหมจากการประกันวินาศภัย

    จากกรณีธรณีพิบัติจาก Tsunami ผมเป็นผู้หนึ่งที่เปิดร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่หาดป่าตอง ภูเก็ต และได้รับความเสียหาย โดยร้านค้าถูกน้ำทะเลซัดจนสินค้าและเครื่องมืออุปกรณ์ซึ่งอยู่ในอาคารชั้นที่หนึ่งเสียหายทั้งหมด มีมอร์เตอร์ไซค์และฝรั่งถูกน้ำซัดเข้ามาเสียชีวิตในร้านด้วย ผมมีประกันวินาศภัยแผ่นดินไหวอยู่กับบริษัทภัทรประกันภัยโดยประกันสินค้าคงคลัง 4.4ล้านบาท อาคาร 1.2ล้านบาท เฟอร์นิเจอร์-อุปกรณ์ 4 แสนบาท โดยสินค้าคงคลัง ณ วันเกิดเหตุมีอยู่ 16 ล้านบาท หลังเกิดเหตุวันที่ 26 ก็ไม่ได้เข้าไปที่ร้านเพราะกลัวจะถูกคลื่นลูกที่สองและที่สาม วันที่ 27 จึงเข้าไปที่ร้านได้ ปรากฏว่าสินค้าในอาคารชั้นที่สองก็ถูกลักโขมยไปเป็นจำนวนมาก บริษัทประกันส่งคนมาตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าจะชดใช้สินไหมให้เพียง 2 ล้านบาทเศษ โดยอ้างว่า จำนวนเงินที่เอาประกันเป็นเพียง 27% ของสินค้าทั้งหมด เมื่อหักสินค้าที่ยังคงเหลืออยู่ 7.9 ล้านบาทแล้ว(ทั้งเปียกน้ำและไม่เปียกน้ำ) เมื่อเทียบเปอร์เซ็นต์แล้วบวกกับค่าเครื่องมืออุปกรณ์และตัวอาคารที่เสียหายจะได้รับสินไหมเพียง 2 ล้านบาทเศษ โดยค่าสินค้าจะได้รับเพียง 1 ล้านบาทเศษ แม้ความเสียหายของตัวสินค้าจะมากกว่า 4.4 ล้านก็ตาม กระผมจึงขอถามอาจารย์ว่าสัดส่วนดังกล่าวเป็นวิธีคิดค่าเสียหายที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ หากไม่ ที่ถูกต้องต้องคิดอย่างไร (กระผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า สต็อคสินค้าช่วง Low Season มีน้อย ช่วง High มีมากกว่าเกือบสองเท่าโดยเฉพาะช่วง Christmas และ ปีใหม่)

    คำตอบ

     

          ในการคิดค่าชดเชยในความเสียหาย เขาย่อมคิดตามสัดส่วนตามวงเงินที่ประำกัน กับสินค้าที่มีอยู่ เพราะไม่รู้ว่าส่วนไหนประกันและส่วนไหนไม่ได้ประกัน บวกกับความเสียหายที่แท้จริง  กรณีของคุณ น่าจะต่อลองกับสินค้าที่ไม่อาจขายหรือคืนได้โดยถือว่าเป็นความเสียหายด้วย

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 มกราคม 2548