ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012667 ลาออกอย่างถูกต้องแต่นายจ้างให้ออกเลยแต่ไม่ยอมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรsweety13 ธันวาคม 2547

    คำถาม
    ลาออกอย่างถูกต้องแต่นายจ้างให้ออกเลยแต่ไม่ยอมแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
    เนื่องจากกรณีที่ดิฉันต้องการขอคำปรึกษาคือ ดิฉันเป็นพนักงานระดับหัวหน้าฝ่ายของบริษัทเอกชนคนไทยแห่งหนึ่ง ได้ลาออกจากการเป็นพนักงานในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 โดยระบุให้วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นวันทำงานวันสุดท้าย ทางนายจ้างไม่ได้ทักท้วงอะไร ได้เซ็นหนังสือลาออกตามปกติ แต่หลังจากนั้นทางนายจ้างก็ได้แสดงความไม่ไว้ใจโดยการเร่งรัดให้เราเคลียร์งานด่วนและได้แสดงความไม่พอใจต่างๆ ออกมาโดยไม่เก็บความรู้สึกหรือมารยาทการทำงาน และเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ทางบริษัทคู่ค้าได้โทรมาสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะ ก่อนที่ดิฉันจะลาออก ดิฉันได้อีเมล์แจ้งให้คู่ค้าทราบว่า ดิฉันและผู้ช่วยของดิฉันจะทำงานที่นี่เดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้าย และขอขอบคุณที่ทุกท่านได้ให้ความร่วมมือกับดิฉันตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา จึงทำให้งานของเราสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พอนายจ้างทราบว่าเราแจ้งคู่ค้าไปว่าเราจะลาออก เขายังไม่ได้เห็นว่าเราแจ้งไปว่าอย่างไรบ้าง ก็ได้ตำหนิอย่างแรงว่าไม่ควรแจ้งไป เพราะจะทำให้ทางคู่ค้า คิดว่าบริษัทมีปัญหา (ซึ่งจริงๆ แล้ว บริษัทก็มีปัญหาด้านการบริหารบุคลากรจริงๆ ฝ่ายต่างประเทศที่ดิฉันดูแลอยู่ ไม่มีใครอยู่นานถึงปี แต่ดิฉันอยู่ถึงเก้าเดือน) ซึ่งโดยเนื้อความจดหมาย ดิฉันไม่ได้เอ่ยอะไรให้บริษัทเสื่อมเสียแม้แต่นิดเดียว เป็นการส่งข้อความที่เราขอบคุณในความร่วมมืออันดีที่มีต่อการทำงานของเราก็เท่านั้น จากนั้น นายจ้างได้แจ้งว่าให้ดิฉันออกส่งมอบงานให้กับคนที่อยู่ให้หมดและจะออกก่อนกำหนดก็ได้ โดยที่เขาจะจ่ายเงินเดือนให้ถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ตามที่ระบุในจดหมายลาออก ซึ่งดิฉันก็คิดว่าก็ดีทั้งสองฝ่าย เพราะนายจ้างก็เกรงว่าดิฉันจะทำให้ธุรกิจเขาเสื่อมเสีย เพราะดิฉันทราบข้อมูลหลายๆ อย่างของบริษัท จึงอยากให้ออกไปให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะถ้ากดดันให้ดิฉันออกโดยไม่ถูกต้อง ดิฉันไม่ออกอยู่แล้วถึงแม้จะไม่ happy กับการกระทำขององค์กร เขาจึงต้องเสนอให้ออกก่อนโดยยังจะจ่ายเงินเดือนตามที่กำหนดการลาออก แต่ดิฉันมีเงื่อนไขสองข้อ คือ - บริษัทต้องออกจดหมายแจ้งให้ดิฉันพักงานก่อนกำหนดการลาออกโดยจะยังคงจ่ายค่าจ้างให้ตามวันที่ดิฉันระบุในจดหมาย - บริษัทต้องออกจดหมายรับรองการผ่านงานให้ดิฉันเพราะว่าดิฉันลาออกอย่างถูกต้องตามกฎที่ตั้งไว้ (นายจ้างแจ้งว่าไม่มีปัญหา แต่เมื่อดิฉันทวงถามจดหมายจากฝ่ายบุคคล กลับได้รับแจ้งว่าไม่ได้รับคำสั่งให้ออกจดหมายให้ ซึ่งดูแล้วเหมือนทางบริษัทกำลังพยายามทำอะไรอยู่ก็ไม่ทราบ ในเมื่ออยากให้ดิฉันออก ดิฉันก็จะทำตาม แต่ขอแค่จดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรป้องกันไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิอันพึงมีพึงได้ก็เท่านั้นเอง) จึงเรียนถามว่า - ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ เพราะว่าหากไม่ได้จดหมาย ดิฉันคิดว่ามาทำงานปกติจนถึงวันที่ดิฉันระบุในจดหมายลาออก เพราะหากดิฉันออกไปตามที่เขาแจ้งด้วยวาจา ไม่มีหลักฐาน เขาอาจหาเรื่องไม่จ่ายค่าจ้าง โดยการกล่าวหาว่าดิฉันออกก่อนกำหนดที่ระบุไว้ แต่หากดิฉันต้องทำงานอยู่ต่อไปถึงวันนั้น ก็ต้องทนกับวิธีที่เขาปฏิบัติต่อเรา ต่างๆ นาๆ - หากดิฉันอยู่ต่อจนกว่าเขาจะออกจดหมายให้ เขาจะหาวิธีแกล้งเอาผิดกับเราได้ไม๊คะ เช่น สร้างหลักฐานว่าดิฉันทำงานผิดพลาดทำให้บริษัทเสียหาย หรือวิธีการอื่นๆ ที่เขาทำได้ไม่ยากเลย เพราะ ที่นี่คือบริษัทของเขา พนักงานทั้งหมดก็คือลูกจ้างของเขา และเราต่างก็ไม่ happy จะทำงานด้วยกันแล้ว เพียงแต่ว่ามีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เราทำให้ถูกต้องก็เท่านั้น จะเห็นได้ว่า ทางลูกจ้างก็มีแต่ถูกเอาเปรียบอยู่เสมอ จึงเรียนมาเพื่อขอคำแนะนำและขอบพระคุณมาในโอกาสนี้ด้วยค่ะ
    คำตอบ
    อย่าทำอะไรตามที่เขาแนะนำหรือเสนอด้วยวาจา ถ้าเขาจริงใจก็ให้เขาทำเป็นลายลักษณ์อักษร ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนด ก็พยายามทำงานด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ และพยายามทำไว้เป็นหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 ธันวาคม 2547