ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012531 เรียกคืนสิทธิในที่ดินเพ็ญพักตร์25 พฤศจิกายน 2547

    คำถาม
    เรียกคืนสิทธิในที่ดิน
    คุณพ่อของดิฉันเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีชื่อในโฉนดเป็นชื่อของลูกๆ ต่อมาคุณพ่อก็สร้างตึกแถวบนที่ดินดังกล่าว โดยให้คุณอาช่วยเป็นธุระในการขออนุญาติก่อสร้าง โดยมีการตกลงที่จะขายตึกส่วนหนึ่งให้ แต่มิได้มีการทำสัญญา มีให้มัดจำมาส่วนหนึ่ง ต่อมาคุณอาก็เอาตึกส่วนที่จะซื้อนั้นไปให้คนอื่นเช่า จนเวลาล่วงเลยมาแปดปี คุณอาก็ไม่เคยได้ชำระส่วนที่เหลือเลย คุณพ่อจึงจะเอาตึกคืน โดยที่ตึกนั้นได้ตกแต่งไปแล้ว ทางคุณอาก็จะไม่ยอมคืนให้ ถ้าจะให้คืนก็ต้องให้คุณพ่อจ่ายค่าตกแต่งตึก และคุณอาก็อ้างว่ามีชื่อเป็นเจ้าของทะเบียนบ้าน เพราะชื่อผู้ร้องขอสร้างตึกนั้นเป็นชื่อคุณอา ดิฉันจึงอยากจะถามว่า 1 คุณอามีสิทธิในตึกหรือไม่ 2.ในส่วนสิ่งของที่ตกแต่งตึกนั้นถือเป็นส่วนควบของตึกหรือไม่ คุณพ่อต้องจ่ายเงินให้คุณอาหรือไม่ 3.จำเป็นหรืไม่ที่ต้องฟ้องร้องในการที่จะได้คืนสิทธิ ขอบคุณมากค่ะ
    คำตอบ
    1. การที่อาจะมีสิทธิในตึกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าตอนไปขออนุญาตปลูกสร้างอาคารนั้น เจ้าของที่ดินได้อนุญาตไว้อย่างไร เพราะการสร้างอาคารลงบนที่ดินของคนอื่น เจ้าของที่ดินจะต้องอนุญาตด้วย จึงต้องไปดูว่าอนุญาตให้เขาสร้างในฐานะอะไร อนึ่ง ที่ดินที่มีชื่อลูกอยู่ในโฉนดนั้น ไม่ใช่ที่ดินของพ่ออีกต่อไปแล้ว 2. ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่ต่อเติมลงไปนั้น สามารถขนย้ายออกโดยยังคงสภาพเดิมได้หรือไม่ ถ้าสามารถขนย้ายออกได้ ก็ไม่เป็นส่วนควบ แต่ถ้าต่อเติมในลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าจะย้ายออกต้องรื้อถอนออกไป ก็จะเป็นส่วนควบ 3. ถ้าคู่กรณีตกลงกันได้ ก็ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้อง แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ตกลง อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องไปฟ้องศาลเพื่อให้ศาลบังคับให้ มีชัย ฤชุพันธุ์ 25 พ.ย. 2547
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 พฤศจิกายน 2547