ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051355 ข้อเสนอเรื่องการเลือกตั้งจิตติ รัตนเพียรชัย5 พฤศจิกายน 2558

    คำถาม
    ข้อเสนอเรื่องการเลือกตั้ง

    การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 (ที่แก้ไขแล้ว)  เป็นการเลือกตั้ง สส. ของพรรคเป็นสองชุดไม่มีความเกี่ยวข้องกัน คือสส. แบบแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อ บัตรที่ลงคะแนนบัญชีรายชื่อทุกเขตเลือกตั้งไม่เสียเปล่าเพราะเอาคะแนนจากทุกเขตของพรรคนั้นเป็นตัวกำหนดจำนวน สส. ตามแบบบัญชีรายชื่อของพรรค  ส่วนคะแนนที่ลงให้กับสส.แบบแบ่งเขต คะแนนของผู้ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งจะเสียเปล่า  นอกจากนี้ ผู้สมัครสส.แบบบัญชีรายชื่อ ยังต้องช่วย ผู้สมัครแบบแบ่งเขตหาเสียงเพราะผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น ช่วยปราศรัยหาเสียง ช่วยสนับสนุนด้านเงินทุน และที่สำคัญที่สุด (ถ้าพรรคนั้นมีนโยบาย) ช่วยซื้อเสียง ซึ่งเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ของประเทศของเรา

                ส่วนหลักการเลือกตั้งแบบเยอรมันนั้น เอาคะแนนทุกคะแนนที่เลือกพรรค มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดจำนวน สส. ของพรรคนั้นทั้งสภา ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน ทั้งประเทศที่ออกเสียงลงคะแนน จึงไม่มีคะแนนเสียเปล่า  จำนวน สส.แบบแบ่งเขตของพรรคที่ได้ จะเป็นตัวกำหนดว่า จะเติมสส.บัญชีรายชื่ออีกเท่าใด เพื่อให้ครบตามเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียงลงคะแนนทั้งประเทศ  จะเห็นได้ว่า ผู้สมัครแบบแบ่งเขต และผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ผลประโยชน์ขัดกัน  ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จึงไม่ช่วยผู้สมัครแบบแบ่งเขต โดยเฉพาะการซื้อเสียง

                การเลือกตั้งแบบนี้ เราสามารถกำหนดจำนวน สส. ล่วงหน้าได้แน่นอน ไม่ต้องมีสส. เกินจำนวนแบบเยอรมัน  กล่าวคือ เอาคะแนนที่เลือกพรรค มาคำนวณว่า พรรคใดจะได้จำนวนสส. ในสภากี่คน ถ้าจำนวนสส.แบบแบ่งเขตได้มากกว่า จำนวนสส. ที่พรรคนั้นจะได้ทั้งสภา ไปหักออกจากจำนวนสส. แบบบัญชีรายชื่อ  เช่นกำหนดให้มีสส.แบบแบ่งเขต 400 เขต สส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน (500คน) ถ้าพรรค ก. ได้รับคะแนนที่เลือกพรรคทั้งประเทศ ร้อยละ40 ของจำนวนผู้ที่ลงคะแนน ก็จะได้สส.ในสภา 200 คน แต่ถ้า พรรค ก. ได้ สส.แบบแบ่งเขต ได้ 203 คน เกินจาก 200 ไป 3 คน ฉะนั้นจะต้องคำนวณ จำนวนสส.ที่แต่ละพรรคจะได้รับเลือกตั้งใหม่ โดยเอาจำนวนสส.ทั้งสภา ลบออกจาก สส. ที่พรรค ก. ได้เกินไป 3 คน (500-3) 497 คน ไปคำนวณ สส. ที่แต่ละพรรคจะได้ใหม่ จึงเป็นการคิดคำนวณ 2 ครั้ง คือครั้งแรกจากจำนวน สส. 500 คน และครั้งที่2 จากจำนวน สส. 497 คน  แต่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นยาก ถ้ากำหนดสัดส่วนของ สส.เขต และบัญชีรายชื่อ ให้ใกล้เคียงกัน เช่น สส.แบบแบ่งเขต 250 คน แบบบัญชีรายชื่อ 250 คน หรือ แบบแบ่งเขต 300 คน แบบบัญชีรายชื่อ 200 คน ถ้ากำหนดดังนี้แล้ว จำนวนสส.แบบแบ่งเขตของพรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ยากที่จะเกินจำนวนสส.ที่พรรคนั้นจะพึงได้รับเลือกตั้งทั้งสภา

                ดังนั้นการเลือกตั้งแบบเยอรมัน (เปลี่ยนแปลงแก้ไข) จึงดีกว่าการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 เพราะการซื้อเสียงจะน้อยลง เนื่องจากผู้สมัครสส.แบบบัญชีรายชื่อจะไม่ช่วยผู้สมัคร สส.เขตซื้อเสียง เพราะผลประโยชน์ขัดกัน แต่ข้อเสียที่สำคัญ ของการเลือกตั้งแบบนี้ คือ สส.แบบบัญชีรายชื่อบางคนของพรรค ประชาชนอาจจะไม่ชอบ หรือเป็นคนไม่ค่อยดี แต่พรรคเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นคนสำคัญของพรรค หรือเป็นผู้ใกล้ชิด จึงใส่ชื่อไว้ในลำดับต้น ของบัญชีรายชื่อ

                ระบบการเลือกตั้งที่แก้ปัญหาการซื้อเสียง  บุคคลที่ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ชอบได้เป็นสส.  คะแนน (เกือบ)ทุกคะแนน(มีการปัดเศษทิ้ง) ที่ประชาชนไปเลือกตั้งไม่เสียเปล่า

              ถ้ากำหนดให้มีสส. ทั้งสภาจำนวน 500 คน ให้มีเขตเลือกตั้ง 500 เขต ผู้ลงคะแนนแต่ละเขต ได้รับบัตรลงคะแนนสองใบ ใบหนึ่งเลือกพรรค เพื่อเอาไปคำนวณ สส. ในสภาทีพรรคนั้นจะได้ ส่วนอีกใบเลือก สส.แต่ละเขต นำไปจัดอันดับ ที่ได้คะแนนจากมากไปหาน้อย ของพรรคเดียวกัน ที่ได้ทุกเขตทั้งประเทศ

                อันดับนี้อาจจะคิดจากจำนวน คะแนนที่ได้โดยตรง หรือเอาไปคำนวณเป็นร้อยละ จากจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ พรรค ก. ได้คะแนนที่เลือกพรรคทุกเขตเลือกตั้ง ร้อยละ 40 พรรค ก. จะได้ สส. 200 คน พรรค ก. จะต้องเลือกผู้สมัคร สส. แบบแบ่งเขต ที่ได้คะแนนสูงไปหาต่ำจำนวน 200 คน มาเป็น สส. ของพรรค ก.

    คำตอบ
    ตรงกับแนวทางที่ กรธ กำลังทำอยู่  จะส่งข้อคิดเห็นนี้ให้ กรธ นำไปประกอบการพิจารณานะ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 พฤศจิกายน 2558