ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051240 รัฐธรรมนูญที่อยากได้เต็มสิทธิ์ สงค์ทอง20 ตุลาคม 2558

    คำถาม
    รัฐธรรมนูญที่อยากได้

    รัฐธรรมนูญที่อยากได้(1)

    รธน. เป็นเรื่องของความเกี่ยวข้องกับประเทศชาติ กำหนดความสัมพันธ์ในการดำรงชีพอยู่ร่วมในสังคมเดียวกันของประชาชนในชาติ เพื่อให้เกิดความสงบสันติสุขแก่ปวงชน จึงขอมีส่วนร่วมเสนอแนวคิด ความต้องการ และความเห็น เสนอต่อ กรธ. บางประการ ดังนี้

     

    1. ควรกำหนดหลักเจตนาอย่าชัดเจน ปราศจากการตีความ การคิดวิเคราะห์ คาดเดาในประเด็น เจตนารมณ์ ถ้อยคำ ความหมาย ให้สามารถจำแนกได้ชัดระหว่างการครอบคลุมกับไม่ครอบคลุมประเด็นเทียบข้อเท็จจริงที่ปรากฏ อย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย

     

    2. ควรกำหนดเนื้อหาสาระ หลักคิด วัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ และกรอบตัดสินประเด็นในบทบัญญัติอย่างชัดเจน ครบถ้วน สอดคล้องรับกันในทุกประเด็น ทุกบทบัญญัติ ทุกมาตรา

     

    3. เนื้อหาสาระอันเป็นลักษณะมีรายละเอียดเสมือนคู่มือปฏิบัติ ควรกำหนดให้มีกฎหมายประกอบ รธน.เป็นการเฉพาะเรื่อง ในหมวดสำคัญ แต่ละบท-ภาค-หมวด-ส่วน-ตอน

     

    4. ระบบการจัดเรียบเรียง ใน บท-ภาค-หมวด-ส่วน-ตอน ควรให้มีสาระที่เป็นอมตะความ  นอกจากจะเป็นเพียง ห้ามแบ่งแยกอาณาจักร ห้ามล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อำนาจอธิปไตยของประชาชน ศักดิ์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชน ห้ามแบ่งแยกชนชั้นในการคุ้มครอง และความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจสูงสุดของ รธน.แล้ว  ยังจำเป็นต้องมีมาตรการและอำนาจเชิงอิงขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้บังคับมิให้ผู้ใดใช้อำนาจอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม มาใช้บังคับ ไม่ให้กระทำการใด ๆ ให้บทบัญญัติ และกฎหมายสูญสิ้นสภาพอำนาจบังคับ ย่อมกระทำมิได้  กระทำการอันเป็นข้อห้ามดังกล่าว หากแม้นเกิดขึ้น มีบุคคล หรือคณะบุคคลจะกระทำการอันนอกบทบัญญัติบังคับแห่ง รธน. และแม้ได้ยกร่างบทบัญญัติขึ้นมาใหม่เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใหม่ ก็จะมีผลบังคับ ลบล้มล้างสาระความบทบัญญัติอันเป็นอมตะนี้มิได้ และสมควรให้สาระนี้เป็นข้อควรกำหนดเป็นอมตะความไว้ตลอดกาล

     

    5. บทบัญญัติที่เป็นบทเฉพาะกาล ควรมีข้อบัญญัติให้น้อยมาตราที่สุด ให้มีได้เท่าที่จำเป็น และต้องเป็นไปตามความเฉพาะกาล มีข้อกำหนดบังคับใช้เฉพาะภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดโดยกาลอย่างชัดเจน จะให้มีผลบังคับตลอดกาลมิได้

     

    6. ในหมวดพระมหากษัตริย์ ควรกำหนดสาระอันเกี่ยวข้องกับการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อถวายการจงรักภักดี ป้องกันการกล่าวอ้างพระบรมเดชานุภาพ พระบารมี ที่ประชาชนพลเมืองจะนำมาใช้ในลักษณะให้ก่อความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทในเรื่องต่าง ๆ  เช่น การดูหมิ่น การอ้างอาศัยภายใต้พระปรมาภิไธยเพื่อคุ้มครองผลการประพฤติตน ปฏิบัติงานในหน้าที่ ให้พ้นจากการตรวจสอบ พ้นจากการรับผิดจากการกระทำผิด หรือต่อสู้เพื่อรอนสิทธิประชาชนพลเมืองที่ใช้สิทธิโดยชอบตาม รธน.และกฎหมาย เว้นแต่จะมีพระบรมราชโองการ อันเนื่องมาจากพระบรมราชวินิจฉัย หรือพระราชดำริส่วนพระองค์โดยตรง (ตาม รธน.กำหนด) โดยผู้นำของอำนาจทั้ง 3 (บริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ) ต้องเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือพระราชดำริ โดยปริยาย(อัตโนมัติ)

    คำตอบ
    จะได้ส่งให้ กรธ ต่อไปนับครับ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 ตุลาคม 2558