ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051216 ที่มานายกควรกำหนดใน พรบ ประกอบรัฐธรรมนูญtapranksan.klunkpudsa17 ตุลาคม 2558

    คำถาม
    ที่มานายกควรกำหนดใน พรบ ประกอบรัฐธรรมนูญ
    ผมมีความคิดเห็นว่า ระบบเลือกตั้ง กับ ที่มานายก ควรกำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมากกว่า เช่นเดียวกับที่มาวุฒิสภาก็ควรอยู่ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเช่นกัน เพราะว่าระบบเลือกตั้งก็เป็นกลไกที่สำคัญในการจัดการควรมขัดแย้งและรักษาเสถียรภาพทางการเมืองที่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมในอนาคต จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญ 
    ที่มาวุฒิสภา เช่นที่มา ส.ว. สรรหาก็ควรอยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อปรับเปลี่ยนตัวแทนพหุสังคมหรือสาขาอาชีพต่างๆ ให้เหมาะได้อยู่เสมอเพื่อให้ได้ตัวแทนภาคประชาสังคมที่เหมาะสมกับรัฐสภา เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มคนที่ไม่มีโอกาสชนะเลือกตั้งหรือเป็นที่นั่งโค้วต้า เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา คนพิการ สตรี เพศทางเลือก ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร ชาวประมง เป็นต้น กับตัวแทนแห่งสติปัญญา คือผู้มีความรู้จริงในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อเป็นสภาแห่งสติปัญญา จะได้ไม่ต้องจากผู้เชี่ยวชาญมาศึกษากฎหมายให้สิ้นเปลืองบ่อยๆ 

    ที่มานายก โดยเฉพาะ ประเด็นนายกคนนอก ผมก็เห็นว่าควรลงไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยที่มานายก ว่านายกควรมาจาก ส.ส. ประกันเอาไว้ เพื่อความสบายใจของกลุ่มที่ระแวงว่าจะอำนาจนอกระบบมาแทรกแซงการเลือกนายก เหมือนเหตุการณ์ปี35 โดยถ้าเกิดเหตุวิกฤตทางการเมืองโดยประการใดๆให้จำต้องเลือกนายกคนนอก ก็ให้รัฐสภาตกลงกันแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ถอดคำว่า นายกต้องเป็น ส.ส. ออกและเลือกนายกคนนอก เมื่อวิกฤตผ่านพ้นไปก็ให้รัฐสภาแก้กลับมาเป็นนายกต้องมาจาก ส.ส. เหมือนเดิม. แบบนี้น่าจะพอใจทุกฝ่าย ยกเว้น สถานการณ์ ที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฏรเพราะโดนยุบและมีเหตุให้ไม่มีนายกรักษาการณ์ ในกรณีเช่นนั้น น่าจะให้ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจ เลือกใครมารักษาการไปพรางก่อน จนกว่าจะผ่านพ้นสถานการณ์นั้นคือมีการเลือกตั้งให้ โดยขณะให้ส.ว.จากการเลือกตั้งทำหน้าที่รักษาการณ์สภาผู้แทนราษฎร์ ให้ส.ว. สรรหารักษาการณ์วุฒิสภา จนกว่า ก.ก.ต.จะสามารถดำเนินการเลือกตั้งได้ เผื่อเกิดเหตุเลือกตั้งกันไม่ได้ เช่น มีสงครามระหว่างประเทศ สงครามกลางเมือง การจราจล อื่นๆ 

    การกำหนดให้นายกมาจาก ส.ส. มีข้อดีในการป้องกันการแย่งกันเป็นนายกของคณะรัฐมนตรี เพราะคนจะนายกต้องเป็นส.ส. เมื่อเป็นฝ่ายบริหารต้องลาออกจาก ส.ส. ทำให้รัฐมนตรี ที่อาจจะมีอำนาจตามระบบอุปถัมภ์ใช้อำนาจที่ได้จากการเป็นรัฐมนตรีสร้างฐานอำนาจขึ้นมาในพรรคได้ อาจจะให้ส.ส. หันมาเลือกตนเองเป็นนายกแทนหัวหน้าพรรคก็ได้ เพราะเลือกคนที่ออกจากการเป็นส.ส.ไปแล้วได้ แต่ถ้ากำหนดนายกต้องมาจากส.ส.  รัฐมนตรีที่พ้นออกจากกอร์เป็น ส.ส.ไปแล้วก็ไม่สามารถเป็นนายกได้ ทำให้ลดความขัดแย้งภายในพรรคการเมือง

    ไม่ควรสร้างกลไกให้พรรคกรรเมืองอ่อนแอ เพราะปัญหา มันอยู่ที่คนใช้อำนาจในทางมิชอบ มีอุดมการณ์พรรคที่วิปริตมากกว่า ไม่ควรไปแก้ระบบในส่วนที่มันไม่ผิดอะไรครับ 

    และวิธีแก้ปัญหาการซื้อเสียงผมขอเสนอวิธีนึง คือไม่ต้องมีการเลือกตั้งซ่อม ใครผิดกฎหมาย เลือกตั้ง เช่นซื้อเสียง ก็เอาคนอันดับถัดไปมาแทนเลย ถ้าเลือกตั้งซ่อมได้มีหวังไม่กลัวกันหรอก แบบนี้พรรคการเมืองจะได้ใส่คนลงสมัครมากขึ้น และเราไม่ควรเสียเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อเลือกตั้งซ่อมให้กับพรรคที่ส่งคนโกงการเลือกตั้งมาลงสมัคร และเสียเวลาประชาชนต้องสละมาเลือกตั้งใหม่ให้พรรคพรรณนั้น คนที่เขาไม่โกงไม่ซื้อเสียงจะได้มีกำลังใจ

    คำตอบ
    จะนำส่งกรธ ต่อไป
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 ตุลาคม 2558