ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051143 แนวทางป้องกันแก้ไขการทุจริตในประเทศไทยจะเป็นไปได้หรือไม่นายฐิติทัศน์ ฉิมสำราญ10 ตุลาคม 2558

    คำถาม
    แนวทางป้องกันแก้ไขการทุจริตในประเทศไทยจะเป็นไปได้หรือไม่

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

            เนื่องด้วยหลังวันที่ 22 พ.ค.57 ประเทศไทยได้จัดตั้ง สนช.,สปช. และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2557 และ องค์การอื่น ๆ ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าประชาชนโดยส่วนรวมมีความสุขอย่างแท้จริง

            ในการนี้กระผมได้สรุปแนวคิดในเรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และได้จัดส่งให้สมาชิกสนช. สมาชิกสปช.บางท่านที่เชื่อว่าให้ความสำคัญกับการปฏิรูปประเทศไทยจริง รวมทั้งได้จัดส่งแนวคิดไปยัง web-site ของสปช. ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้แสดงความคิดเห็นด้วย ทั้งนี้ด้วยเห็นว่าประเทศของเราเจริญช้า ประชาชนส่วนใหญ่ยากลำบาก ต้นเหตุสำคัญมาจากการทุจริต โกงกินของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พ่ายแก้ต่อความโลภ กระผมจึงต้องการเป็นประเทศไทยได้รับการปฏิรูปอย่างแท้จริงโดยเฉพาะการขจัดการทุจริตทั้งหลาย

             จนกระทั่งบัดนี้ กระผมไม่แน่ใจว่าแนวคิดดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาหรือไม่อย่างไร เนื่องด้วยกระผมมิใช่ผู้ชำนาญด้านกฎหมาย และมีความเข้าใจในระบบราชการและการเมืองน้อย แนวคิดคงจะต้องได้รับการขัดเกลาจากท่านผู้รู้จริง การที่ท่านอาจารย์ได้เสียสละรับหน้าที่ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญนั้น กระผมจึงใคร่ขอจัดส่งแนวคิดข้างต้นมาเพื่อประกอบการพิจารณาของท่านอาจารย์ ดังต่อไปนี้ครับ

    1.ในกฎหมายทุกประเภทนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ (หากเป็นไปได้) พรบ. พรก. กฏกระทรวง ฯลฯ ที่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองของนักการเมือง, ข้าราชการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ นอกจากจะกำหนดว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร หรือห้ามไม่ให้ปฏิบัติอย่างไรแล้ว ควรจะต้องมีบทกำหนดโทษไว้อย่างชัดเจนว่าถ้าให้ปฏิบัติแล้วไม่ปฏิบัติจะถูกลงโทษอย่างไร หรือ ห้าไม่หให้ปฏิบัติแต่ผ่าฝืนปฏิบ้ติจะมีโทษอย่างไรโดยใคร ดังตัวอย่างของพรฐป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศซ2542, พรบ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545

    2.ความผิดเกี่ยวกับการทุจริตทุกประเภท จะต้องไม่มีอายุความ

    3.ความผิดเกี่ยวกับการทุจริทุกประเภท หากได้รับการตัดสินจากศาลหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่แล้วว่ากระทำความผิดจริง จะต้องมีการอายัด หรือยึดทรัพย์จากผู้กระทำผิดมาคืนให้กับประเทศโดยเร็ว

    4.หลักการของกฏหมายอาญาที่จะไม่พิจารณาคดีลับหลังจำเลยนั้น จะต้องไม่ใช้บังคับกับกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นนักการเมือง, ข้าราชการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำเลย และจงใจหลบหนีกระบวนการพิจารณาคดีของศาล เนื่องด้วยเป็นกรณีที่จำเลยจงใจหลบหนีจึงไม่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามหลักกฏหมายนี้

    5.ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลปกครอง, หรือศาลฏีกา ควรมีขอบเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีในเชิงป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศ (Proactive action) โดยไม่ต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นจริง  เช่นกรณีที่มีผู้ฟ้องคดีว่าผู้มีอำนาจในประเทศจะดำเนินนโยบายหรือมีการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย, มีการทุจริต ฯลฯ ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาและออกคำสั่งเพื่อป้องกันความเสียหายที่เหมาะสมได้

    6.ควรกำหนดมาตรการ หรือหน่วยงาน หรือคณะบุคคลที่เชื่อถือได้ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบ การใช้ดุลยพินิจขององค์กรอิสระต่าง ๆ เช่น ปปช.ปปท. กกค. สตง. อัยการ ฯลฯ ว่าได้ใช้ดุลยพินิจไปโดยถูกต้อง สุจริต ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ซึ่งหากพบว่าใช้ดุลยพินิจไม่ถูกต้อง หรือส่อไปในทางทุจริต หรือช่วยเหลือโดยมิชอบแล้ว สามารถยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ หรือฟ้องร้องต่อศาลให้เพิกถอนดุลยพินิจที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้น หรือพิจารณาพิพากษาลงโทษได้

    7.กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลจะต้องไม่ทำโครงการประชานิยม หรือโครงการอื่นใดที่ส่อว่าจะทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย ทั้งนี้หากดำเนินการไปถ้าเกิดความเสียหายต่อประเทศผู้ที่สั่งการ และผู้ดำเนินการทั้งหมดจะต้องรับผิดชอบทั้งในทางแพ่งและทางอาญา

    8.ทุกขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่เจ้าพนักงานตำรวจ, อัยการ, องค์กรอิสะร, ศาล ฯลฯ จะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่เหมาะสมไว้ เช่นที่ในด้านธุรกิจเรียกว่า SLA (Service Level Agreement) โดยการใช้ระยะเวลาเกิน SLA จะต้องมีเหตุจำเป็นที่มีเหตุผล หรือเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่งเท่านั้น

    9.ในคดีทุจริตนั้นประชาชนทุกคนถือว่าเป็นผู้เสียหาย ที่สามารถฟ้องคดีได้ โดยมีมาตรการป้องการการกลั่นแกล้ง หรือการฟ้องร้องโดยเจตนาไม่สุจริตที่ชัดเจน

            จึงเรียนเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณา ทั้งนี้หากท่านอาจารย์จะกรุณาตอบให้ทราบว่าความเห็นใดสามารถดำเนินการได้ หรือไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุใดก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

    ขอบพระคุณครับ

          

    คำตอบ
    ขอบคุณที่เสนอแนะข้อคิดเห็น  หลายเรื่องน่าสนใจ เพียงแต่บางเรื่องต้องไปเขียนในกฎหมายปกติ  อย่างไรก็ตามจะส่งทั้งหมดนี้ให้ กรธ ไปประกอบการพิจารณา
          สำหรับในประเด็นที่ ๑ เรื่องบทลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามนั้น ปกติกฎหมายทุกฉบับจะมีอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นการลงโทษประชาชนที่ไม่ปฏิบัติตาม ยังไม่ค่อยมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ไม่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย   ระยะหลังเริ่มจะมีขึ้นบ้างแล้ว กฎหมายอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เป็นตัวอย่างที่มีบทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ

    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 ตุลาคม 2558