ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049817 ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองและ กกต. ยึดกฎหมายจริงหรือpolicemajor@hotmail.com6 มกราคม 2557

    คำถาม
    ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองและ กกต. ยึดกฎหมายจริงหรือ
    ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ    พรรคการเมืองและ กกต.ยึดกฎหมาย จริงหรือ
     
    วันที่  5  มกราคม  2557
     
    เรียน  อาจารย์มีชัยฯ  ที่เคารพ
     
                ขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลดังต่อไปนี้
     
                หนึ่ง.รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๙๕  การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ  และให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
     
              สอง.รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๑๐๓  พรรค การเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งในเขตเลือก ตั้งใด ต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งให้ครบจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะ พึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น และจะส่งเกินจำนวนดังกล่าวมิได้
     
     
              สาม.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐  มาตรา ๔ “เขตเลือกตั้ง” หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  หรือแบบบัญชีรายชื่อ  แล้วแต่กรณี
     
     

              สี่.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐   มาตรา ๖  ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้ (๒) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

     

              ห้า. กกต.ได้สรุปและประกาศรับรองการรับสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ระหว่างวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2556 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร  จำนวน 53 พรรคการเมือง ดังนี้  ยกตัวอย่างเช่น  หมายเลข 2  พรรคถิ่นกาขาว  ส่งรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน 

     

               หก.สรุปผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554   พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อประมาณ 15 ล้านเสียง คิดเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 61 คน  หรือ  พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อประมาณ 12 ล้านเสียง คิดเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 44 คน  

     

             ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์  ดังนี้

     

                  1.การที่พรรคการเมืองส่งสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนไม่ครบ 125 คน  เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ครับ

     

                 2.การที่ กกต.ประกาศรับรองความถูกต้องของการสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครจำนวนไม่ครบ 125 คน  เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ครับ

     

                 3.หากเกิดกรณีที่ว่า  หมายเลข 2.พรรคถิ่นกาขาวซึ่งส่งรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเพียงแค่ 4 คน  แล้วหากมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ปรากฏว่าพรรคถิ่นกาขาวได้คะแนนเสียง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อประมาณ 12 ล้านเสียง อาจพอเทียบเคียงได้เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 44 คน  กกต.จะทำเช่นไร และ แก้ไขอย่างไร  เพราะส่งผู้สมัครเพียงแค่ 4 คน  มีจำนวนขาดไปถึง 40 คน

     

                 4.จากกรณี ข้อ 3. จะทำให้จำนวน ส.ส.ไม่ครบอย่างน้อย 475 คนจากจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คน ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๙๓ วรรค ๖ บัญญัติว่า  ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงห้าร้อยคน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุ ของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่  กกต.จะประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อใหม่เฉพาะจำนวนที่ขาด  ได้หรือไม่  เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด

     

                   5.จากคำถาม ข้อ 1.  ข้อ 2.  ข้อ 3. และ ข้อ 4.ดังกล่าว  พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต้องส่งรายชื่อให้ครบ 125 คน  กกต.จึงสามารถประกาศรับรองความถูกต้องตาม มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐    ใช่หรือไม่ครับ

     

                6.ผมเคยเรียนถามอาจารย์ในอดีตเกี่ยวกับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ คำถามที่ 044911 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2554 เพราะบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๙๗ การจัดทำบัญชีผู้รับสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองสำหรับการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือก ตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย  เป็นข้อกฎหมายที่ พรรคการเมือง และ กกต.ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย ใช่หรือไม่ครับ

     

                     7.รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๒๓๗ หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใดกระทำ การอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ให้ ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดย วิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการ เมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง  อาจารย์จะแนะนำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งฟ้องร้องอย่างไรจึงสะดวกและรวดเร็ว ครับ


                         8.พรรคการเมือง และ กกต. จะปฏิเสธความไม่รู้กฎหมายกรณี "จำนวนรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต้องส่งครบ 125 คน"  ได้หรือไม่ครับ               

     

                                  ด้วยความเคารพ

                             policemajor@hotmail.com

    คำตอบ
    ทั้งหมดนี้ต้องอ่านมาตรา ๙๖ ของ รัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติให้แต่ละพรรคเสนอบัญชีรายชื่อได้ไม่เกินบัญชีละ ๑๒๕ คน ซึ่งหมายความว่าแต่ละพรรคเสนอได้ไม่เกิน ๑๒๕ คน แต่จะเสนอน้อยกว่านั้นเท่าไร ก็ไม่ห้าม
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 มกราคม 2557