ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049801 อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญกฤช25 ธันวาคม 2556

    คำถาม
    อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

    เรียนถามอาจารย์มีชัย

             สังคมไทยที่วุ่นวายกันอยู่นี้ เป็นเพราะผู้บริหารราชการแผ่นดินไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ในเมื่อรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดที่ปกครองประเทศครอบคลุมทุกองค์กร ทุกสถาบัน ทุกคนในประเทศ

             คำถามผมอยากทราบคือ ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความผิดของรัฐบาลแล้ว น่าจะถึงที่สุด แต่ทำไมต้องให้ปปช.ชี้มูลความผิดรัฐบาลถึงต้องปฎิบัติตามปปช. อย่างนี้เท่ากับว่ากฎหมายให้อำนาจปปช.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจเหนือศาลรัฐธรรมนูญ แล้วอย่างนี้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ตรงไหนครับ ในฐานะที่อาจารย์เป็นหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์มีความเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร

                                                   ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

                                                                                  กฤช

    คำตอบ
    ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เพียงการชี้ว่าอะไรผิดอะไรถูกในแง่มุมของรัฐธรรมนูญ  ไม่ได้มีอำนาจลงโทษอะไรใครได้  ถ้าสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าผิด เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เป็นความผิดทางกฎหมายอาญา เรื่องก็จบเพียงเท่านั้น คนที่เกี่ยวข้องก็ไปดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง หรือหยุดดำเนินการเรื่องนั้น  แต่ถ้าสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าผิดนั้น เป็นความผิดทางกฎหมายอาญา หรือผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ด้วย ก็ต้องให้องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ไปชี้อีกทีหนึ่ง อย่างที่ ปปช.กำลังจะชี้อยู่นั่นแหละ เพื่อจะได้ดำเนินการลงโทษไปตามขั้นตอน  เพียงแต่ว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญ ผูกพันทุกองค์กร จะปฏิเสธ หรือชีั้ไปอีกอย่างหนึ่งไม่ได้  เช่น ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าผิดแล้ว ปปช.จะไปชี้ว่าไม่ผิดไม่ได้ ได้แต่จะวินิจฉัยว่าสิ่งที่ผิดนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือไม่  คล้าย ๆ กับ พระที่ไปร่วมหลับนอนกับผู้หญิง  ทางวินัยของพระที่ถือว่าขาดจากความเป็นพระแล้ว ก็ต้องสึกออกไป แต่เมื่อสึกแล้ว จะเป็นความผิดหรือไม่ ทางตำรวจก็ต้องไปดูอีกทีหนึ่ง  ถ้าผู้หญิงยินยอมและบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่มีความผิดอะไร แต่ถ้าผู้หญิงยังอายุไม่ถึง ๑๘ ก็อาจเป็นความผิดทางอาญาได้ ซึ่งตำรวจก็ต้องดำเนินการสอบสวนและฟ้องร้องเป็นคดีต่อไปอีกทีหนึ่ง
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 ธันวาคม 2556