ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046418 การแก้รัฐธรรมนูญนายพิชัย คำชำนาญ5 มีนาคม 2555

    คำถาม
    การแก้รัฐธรรมนูญ

           ข้าพเจ้าเป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนใน 25 ล้านคนเศษ(ไม่ใช่15ล้านคนเศษ)

            อยากทราบว่าการแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญมีหลักเกณฑ์อย่างไรที่จะแก้เพื่อประชาชนส่วนรวม รึว่าต้องลองให้แก้ดูก่อน มันจะสายไปไหม

    คำตอบ

           ในชั้นต้นนี้ก็คงต้องสังเกตและอ่านดูจากหลักการและเหตุผลของผู้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม ถ้าอ่านดูโดยละเอียดอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว มองไม่เห็นว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ก็แปลว่าการแก้นั้นมิใช่เป็นไปเพื่อประชาชนส่วนรวม แต่ถ้าอ่านดูแล้วเห็นว่าบ้านเมืองจะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ประชาชนมีความสุขสงบขึ้น การเมืองใสสะอาดบริสุทธิ์ไม่มีการทุจริตอีกต่อไป ก็แปลว่าการแก้ไขนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวม

        แต่ในเรื่องการเมืองนั้น ก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง เพราะบางทีมองกันคนละมุมและมีความคาดหวังที่แตกต่างกัน เช่น การประชุมสภานั้น บางคนก็ชอบความดุเด็ดเผ็ดมัน หยาบคาย ข่มขู่ โวยวาย ตาต่อตาฟันต่อฟัน โดยถือว่าเป็นสีสันของประชาธิปไตย สื่อก็ชอบเพราะได้นำมาพาดหัวได้ คนทำก็ชอบเพราะได้เป็นข่าวในสื่อ คนอ่านหรือคนดูคนฟังก็ชอบเพราะมันในอารมณ์ เป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของประชาชนที่พอจะหาได้  ส่วนองค์กรที่คุ้มครองอยู่นั้นจะตกต่ำหรือถูกดูหมิ่นถิ่นแคลนอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องที่สมาชิกในองค์กรนั้นจะต้องใส่ใจ มุมมองเช่นนี้ ถ้ายั่งยืนอยู่ได้ในสังคมและเป็นที่รับได้ของสังคม ก็แปลว่าคนส่วนใหญ่เขาเห็นเช่นนั้น คนส่วนน้อยที่มองและคาดหวังต่างมุมไป ก็ต้องรู้จักอดทน อดกลั้น จนกว่าสังคมส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปตามที่ตนคาดหวัง หรือจนกว่าตนเองจะเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมส่วนใหญ่ได้สำเร็จ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 มีนาคม 2555