ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045197 มาตรา89เด็กหนุ่มเลือกตั้งครั้งที่24 กรกฎาคม 2554

    คำถาม
    มาตรา89

    ในที่สุดผลการเลือกตั้งก็ออกมาแล้วนะครับอาจารย์
    คำถามนี้อาจจะไม่มีผลประโยชน์ต่อส่วนรวมอีกต่อไปแล้ว
    แต่ถือว่าเป็นการให้ความรู้ผมแล้วกัน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องค้างคาใจอะไรต่อไป

    ผมขอสมมุติเหตุการณ์
    มีคนอยู่7คน แล้วมีคนในกลุ่มชักชวนให้ไปเที่ยวโดยมีสถานที่ให้เลือก3ที่
    ขั้นต้นทั้งกลุ่มมาvoteว่าจะไปหรือไม่ไป
    ปรากฎว่าเลือกไป4คนไม่ไป3คนทั้งกลุ่มจึงตกลงกันว่าจะไปเที่ยว
    ต่อมากลุ่มที่เลือกจะไป4คนมาลงความเห็นว่าจะไปที่ไหนดีใน3ที่
    ผลปรากฎว่าเสียงแยกเป็นสามส่วน คือภูเก็ต2คะแนน สมุย1คะแนน พัทยา
    1คะแนน นั่นคือทั้งกลุ่มต้องไปเที่ยวภูเก็ตที่ได้2คะแนน
    แต่ภายหลังกลุ่มคนที่ออกเสียงว่าไม่ไปที่มี3คนบอกว่าเสียงไม่ไปมากกว่าเสียงภูเก็ตที่ได้2คะแนน แล้วสรุปเอาว่าทั้งกลุ่มจะต้องนอนอยู่บ้าน

    มาตรา89กล่าวไว้แบบนี้หรือครับ??
    แบบนี้มันเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยหรือครับ??

    ขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

       สมมุติฐานของคุณผิดในขั้นที่ ๒  กล่าวในขั้นแรกเมื่อลงคะแนนว่าจะไปเที่ยวหรือไม่ ๔ เสียงว่าควรไป อีก ๓ เสียงว่าไม่ควรไป  การไปเที่ยวจึงเป็นเสียงข้างมาก ตกลงทุกคนก็ควรต้องไปเที่ยว เมื่อจะตกลงกันว่าจะไปเที่ยวไหน คนทั้ง ๗ ก็ต้องมาลงคะแนนกันใหม่ (รวมทั้ง ๓ คนที่เคยลงคะแนนว่าไม่ไปเที่ยวด้วย เพราะตามหลักประชาธิปไตยนั้น คนเสียงข้างน้อยต้องยอมรับผลของเสียงข้างมาก) แต่ถ้าในการลงคะแนนครั้งที่ ๒ ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน คนที่ลงคะแนน ไปภูเก็ต มี ๒ เสียง คนที่ลงคะแนนไปสมุยกับพัทยา มีแห่งละ ๑ เสียง ส่วนอีก ๓ เสียงไม่ลงคะแนน ก็ต้องถือว่าคนทั้ง ๓ คนนั้นไม่ติดใจ เท่ากับว่ายอมปล่อยให้ชะตาชีวิตขึ้นอยู่กับคน ๔ คน  เมื่อเสียง ๒ เสียงให้ไปภูเก็บ เป็นเสียงข้างมาก คนที่ลงคะแนนไปสมุยกับพัทยา ก็ต้องยอมไปภูเก็ต ส่วนอีก ๓ คนที่ไม่ลงคะแนนนั้น เมื่อยอมรับชะตาที่เพื่อนจะลงคะแนนกันแล้ว ก็ต้องไปตามเขา เพราะถือว่าเสียงข้างมากเขาตกลงเช่นนั้นแล้ว

       สำหรับคำถามนั้น ถ้ามาตรา ๘๙ ที่คุณว่ามาหมายถึง ม.๘๙ ของกฎหมายเลือกตั้ง ก็เป็นคนละเรื่องกับที่คุณว่ามา เพราะ ม.๘๙ เพียงแต่บอกว่าในการเลือกตั้งนั้น ใครได้คะแนนสูงสุดคนนั้นได้รับเลือก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้จับสลาก   คนที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดอาจจะไม่ใช่คนที่ได้คะแนนเสียงข้างมากของผู้มาลงคะแนนก็ได้ เช่น มีผู้สมัคร ๕ คน มีคนมาลงคะแนน ๖๐ คน คนที่ ๑ ได้ ๒๐ คะแนน คนที่ ๒ ถึงที่ ๕ ได้คนละ ๑๐ คะแนน คนที่ ๑ จะได้รับเลือก ทั้ง ๆ ที่ คนอีก ๔๐ คนซึ่งเป็นเสียงข้างมาก ไม่ได้เลือกคนที่ ๑ เลย แต่เมื่อกฎเกณฑ์ว่าไว้อย่างนี้ก็ต้องเป็นไปตามนี้   บางประเทศเขาถึงมีกฎเกณฑ์พิเศษว่า ถ้าในรอบแรกไม่มีใครได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ ก็จะต้องเลือกใหม่อีกรอบหนึ่ง โดยให้คนที่ได้คะแนนที่ ๑ กับที่ ๒ มารับเลือกใหม่ เฉพาะ ๒ คน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 กรกฎาคม 2554