ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040947 ปัญหาการเมืองสิทธิพร6 กรกฎาคม 2553

    คำถาม
    ปัญหาการเมือง

    สวัสดีครับอาจารย์

     

    ผมมีคำถามจะถามท่าน อ.มีชัย ในฐานะที่ท่านเป็นนักกฎหมายและเคยเป็นนักการเมือง

     

    1.เรื่องสถาบัน ตามที่ผมศึกษามานั้น ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก มีปัญหาถกกันในที่ประชุมว่า การกำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ อยู่เหนือการเมืองนั้น เป็นการลิดรอน สิทธิเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตย ของ พระราชวงศ์หรือไม่ ซึ่งก็ปรากฎว่า ล้นเกล้าร.7 ทรงมีพระราชหัตถเลขา พระราชทานพระราชวินิจฉัยว่า "ในหลักการพระบรมวงศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพ เหนือความที่จะพึงถูกติเตียนไม่ควรแก่ตำแหน่งการเมืองซึ่งเป็นงานที่นำมา ทั้งในทางพระเดช และพระคุณ"  ซึ่งผมถือว่าเป็นพระปรีชาของพระองค์ท่านในหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

     

    แต่กระนั้นตามประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งกบฏพระองค์เจ้าบวรเดช ก็เป็นการแอบอ้างสถาบัน ลงมาต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งร้ายแรงมากจนส่งผลถึงความขัดแย้งระหว่า ร.7 กับ รัฐบาล ซึ่งสุดท้ายก็ทำให้ พระองค์ท่านตัดสินใจสละราชสมบัติ

     

    ซึ่งในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่ปี 48 เป็นต้นมา ผมเห็นว่า เรากำลังกลับไปสู่ห้วงเวลานั้นอีกครั้ง โดยการอ้างถึงสถาบันลงมาใช้ประโยชน์ในทางการเมือง จนอาจจะทำให้นำไปสู้ความขัดแย้ง เมื่อครั้ง ร.7

     

    ในข้อนี้ไม่ทราบ อ.มีชัย เห็นด้วยไหมครับ

    และหากอาจารย์เห็นด้วย เราจะทำอย่างไรเพื่อทำให้คนในสังคมตระหนักถึงปัญหาข้อนี้ดี ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันมากกว่า การพูดจาจ้าบจ้วง(ในข้อนี้ผมเห็นด้วยในการดำเนินคดีคนที่ทำผิดนะครับ แต่ผมไม่เห็นด้วยที่รัฐโฟกัสเป็นประเด็นหลัก จนประชาชนแบ่งฝักแบ่งฝ่ายไป) และเราจะได้จงรักภักดีอย่างเหมาะสม

    3. ในส่วนของประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ตาม ม.5 กำหนดว่า ให้ใช้เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉิน และในวรรคท้ายได้ระบุว่าเมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลง หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ก็ให้นายกฯประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

    ในประเด็น ณ ปัจจุบัน (วันที่ 6 กรกฎาคม 2553) ถือว่าสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงหรือยัง และหากสมมติว่าสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว แต่ครม.ยังมีมติให้คงประกาศ พรก.ฉุกเฉินต่อไป และนายกฯไม่ประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะอ้างมติครม. เช่นนี้ จะถือว่า นายกฯมีความผิด ฐานละเว้นการปฏิบัติตาม พรก.ฉุกเฉิน ม.5 วรรคท้ายหรือไม่ครับ

    ชอพระคุณครับ

    คำตอบ

    1. ประเทศทุกประเทศไม่ว่าจะอยู่ในระบบการปกครองรูปแบบใด ต่างก็มีประมุขของประเทศ ส่วนจะเป็นประมุขรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของแต่ละสังคมของประเทศนั้นที่จะถักทอกันขึ้นมา  บางประเทศประมุขของประเทศก็เป็นตัวจักรกลในทางการเมืองโดยตรง แต่บางประเทศประมุขของประเทศก็ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเว้นแต่ในส่วนที่รัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ กำหนดไว้  ความเคารพนับถือที่ประชาชนมีต่อประมุขของประเทศนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับลักษณะที่มาแห่งประมุข ความเกี่ยวข้องกับการเมือง แล้ว ยังขึ้นอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมของประเทศนั้นด้วย คนอเมริกันนั้นเพียงแต่นับถือประธานาธิบดี แต่ไม่เคารพ เพราะแม้แต่พ่อแม่ของเขาเขาก็ไม่เคารพ ซึ่งผิดกับคนไทยที่เราเคารพพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เหมือน ๆ กับคนเอเซียส่วนใหญ่  เมื่อวันหนึ่งคนไทยส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปทำนองคนอเมริกัน คนส่วนใหญ่จึงยากที่จะรับได้

        1.   ในส่วนที่มีการอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น เป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเพณีที่ยึดถือกันมาก็ดี ตามรัฐธรรมนูญก็ดี โดยเฉพาะพระจริยวัฒน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเคร่งครัดต่อการปฏิบัติพระองค์ตามรัฐธรรมนูญอย่างคงเส้นคงวา  เมื่อใดที่มีวิกฤติทางการเมืองเกิดขึ้น ใครก็ตามที่ไปดึงท่านลงมาเพื่อให้ทรงวินิจฉัยปัญหาทางการเมือง หรือให้ท่านทรงใช้อำนาจที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการไม่สมควร  เพราะการเมืองนั้นไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอยู่เสมอ

    3. เมื่อกฎหมายกำหนดว่าการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ ให้ทำได้เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ก็แปลว่ากฎหมายมอบดุลพินิจให้อยู่แก่คณะรัฐมนตรีที่จะวินิจฉัยว่าอย่างไรเป็นการฉุกเฉิน เพราะคณะรัฐมนตรีนั้นต้องรับผิดชอบในความสุขสงบของบ้านเมือง และอยู่ในฐานะที่รู้ข้อมูลดีว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร การที่ ครม.มีมติให้ต่ออายุออกไปได้ ก็ต้องแปลว่าคณะรัฐมนตรีเห็นแล้วว่าเหตุฉุกเฉินนั้นยังมีอยู่ ที่ว่ามานี้ก็ไม่ได้แปลว่าผู้ตอบเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพียงแต่ตอบไปตามประสาเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ซึ่งถ้าทำได้บางทีความขึ้งเคียดก็จะลดน้อยลง ทำให้ดีแก่สุขภาพจิต


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 กรกฎาคม 2553