ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034709 ร่าง พรป.เกี่ยวด้วยการเงินนักกฎหมายตัวเล็กๆ18 เมษายน 2552

    คำถาม
    ร่าง พรป.เกี่ยวด้วยการเงิน

          ขอเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับกรณีร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวด้วยการเงินว่า ตามรธน.50 ต้องขอคำรับรองจาก นรม.หรือไม่ เพราะ ม.140 ว.2 ให้นำการตรา พรบ.มาใช้กับการพิจารณาร่างพรป.โดยอนุโลม เลยไม่ทราบว่าขั้นตอนการเสนอร่าง ถือเป็นการพิจารณาหรือไม่ 

           พอย้อนไปดู รธน.40 ยิ่งงงหนักค่ะ ม.169 ว.1 บอกว่า ร่าง พรบ.หรือ ร่าง พรป.จะเสนอได้ก็แต่ สส.หรือ ครม.  แต่(เฉพาะ)ร่าง พรบ.เกี่ยวด้วยการเงิน ให้มีคำรับรองของ นรม.  พอไปดู ว.4 ของม.169 กลับบอกว่า กรณีสงสัยว่า ร่างพรบ. หรือ ร่าง พรป.ใดเป็นร่าง พรบ.เกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องขอคำรับรองของ นรม. ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกัน

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    คำตอบ
    เมื่อ รธน. ๒๕๕๐ แยกร่างพระราชบัญญัติไว้เป็น ๒ ประเภท คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กับร่างพระราชบัญญัติธรรมดา  และในการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งยอมให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเสนอได้เอง โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องกฎหมายการเงินแล้ว  การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เป็นการเงิน (ซึ่งส่วนใหญ่ย่อมเป็นกฎหมายการเงินทั้งนั้น ) จึงไม่ต้องได้รับคำรับรองจาก นรม.  แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติธรรมดา ก็ต้องได้รับคำรับรองจาก นรม.ก่อนตามที่บัญญัติเป็นเงิ่อนไขไว้ในมาตรา ๑๔๒ วรรคสอง
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 เมษายน 2552