ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033383 ข้อสงสัยเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภาบอล31 มกราคม 2552

    คำถาม
    ข้อสงสัยเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภา

        เรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

                   ผมมีความสงสัยอยู่เล็กน้อยเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภาซึ่งแตกต่างกับสภาผู้แทนฯ เล็กน้อยครับ กล่าวคือ โดยปกติการพิจารณาร่างกฎหมายของสภาผู้แทนฯ กับวุฒิสภาจะคล้ายกัน คือ การพิจารณา ๓ วาระ แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ รัฐธรรมนูญจะกำหนดระยะเวลาตายตัวสำหรับวุฒิสภาในการพิจารณาร่างกฎหมาย (ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน ๖๐ วัน กรณีร่างกฎหมายทั่วไป และภายใน ๓๐ วันกรณีร่างกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการเงิน)

                   ที่ทำให้ผมสงสัยมากก็คือ รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่าวุฒิสภาไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายได้ทันกำหนดภายในระยะเวลาข้างต้นนั้น ให้ถือว่าเห็นชอบในร่างกฎหมายนั้น ที่ผมอยากจะทราบก็คือ อะไรคือเจตนารมณ์ หรือที่มาที่ไปของการกำหนดหลักการไว้แบบนี้ครับ (เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาอย่างนั้นเหรอครับ?) แล้วเหตุใดจึงกำหนดไว้แต่เฉพาะกรณีวุฒิสภา ทำไมไม่กำหนดกับสภาผู้แทนราษฎรด้วยครับ ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ  

    คำตอบ

    เรียน บอล

       เหตุที่กำหนดไว้เช่นนั้น ก็เพราะเขาถือว่าการพิจารณาร่างกฎหมายนั้น ได้มีการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนมารอบหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว  หากไม่กำหนดเวลาให้วุฒิสภาพิจารณา การผ่านร่างกฎหมายก็จะไม่มีทางสำเร็จได้ เพราะถ้าวุฒิสภาเกิดไม่เห็นด้วย แต่แทนที่จะลงมติไม่รับหลักการให้เด็ดขาดไป ก็อาจปล่อยทิ้งไว้จนสภาหมดอายุ กฎหมายนั้นก็จะตกไปตามรัฐธรรมนูญ  แต่ถ้าลงมติไม่รับหลักการ สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและหากได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง กฎหมายก็จะถือว่าผ่านทั้งสองสภา สามารถนำไปประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายโดยไม่ต้องผ่านวุฒิสภาได้  อนึ่ง การกำหนดระยะเวลาการพิจารณานั้น ไม่ใช่มีแต่เฉพาะวุฒิสภาเท่านั้น ในกรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี รัฐธรรมนูญก็กำหนดระยะเวลาให้สภาผู้แทนฯต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดเหมือนกัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    31 มกราคม 2552