ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    032668 การเลือกนายกฯ รัฐธรรมนูญกำหนดให้กระทำภายใน 30 วัน นับแต่ตำแหน่งนายกฯ ว่างลงวิทวัส22 ธันวาคม 2551

    คำถาม
    การเลือกนายกฯ รัฐธรรมนูญกำหนดให้กระทำภายใน 30 วัน นับแต่ตำแหน่งนายกฯ ว่างลง

    เรียน อาจารย์ที่เคารพ

    ผมมีข้อสงสัยและคาใจดังนี้ครับ ตามรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ในปัจจุบัน กำหนดให้

    1.ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องสังกัดพรรคการเมือง(วัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ เน้นระบบพรรค)

    2.ถ้าถูกยุบพรรค สส. จะต้องหาพรรคสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน (ถ้าผมจำไม่ผิด)

    3.ถ้าตำแหน่งนายกฯว่างลง จะต้องสรรหาภายใน 30 วัน

    4.ถ้ามีการเปิดประชุมสภาฯเพื่อออกเสียงเลือกนายกฯคนใหม่ กำหนดระยะเวลาที่ให้ สส.ต้องหาพรรคสังกัดใหม่(กรณีถูกยุบพรรค) น่าจะลดลงมาให้เหลือน้อยกว่า 60 วัน กล่าวคือต้องสังกัดพรรคให้เรียบร้อยก่อนออกเสียงเลือกนายกฯ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า สส.ไม่สังกัดพรรคก็มีสิทธิสมบูรณ์เท่ากับ สส. สังกัดพรรค ซึ่งน่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือเปล่าครับ (สส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง สิทธิจึงเกิด)

    5.การมีกฎหมายให้เปิดประชุมสภาฯเพื่อกระทำการใดใด เช่น เลือกนายกฯ มีข้อปฏิบัติ หรือประเพณีปฏิบัติ หรือไม่ว่าจะต้องให้สภาฯเปิดกี่วันจึงจะเรียกประชุมได้ และการนับ ให้เริ่มนับตั้งแต่เมื่อใดครับ (นับแต่วันลงพระปรมาภิไธย หรือนับแต่วันที่ให้เปิดประชุมสภาวันแรก) -ขอบพระคุณครับอาจารย์ -วิทวัส 

     

    คำตอบ

    เรียน คุณวิทวัส

        1-4 การกำหนดระยะเวลาใด ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างก็คงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการทำกิจกรรมนั้น ๆ ว่าสมควรจะให้ระยะเวลากี่วัน เมื่อกำหนดไว้จนตราออกมาเป็นรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็คงต้องปฏิบัติตามนั้น จนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันใหม่ อนึ่ง ตามแนวของรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น ได้ให้อิสระแก่ สส.ในการลงคะแนนเสียงเลือกหรือให้ความเห็นชอบตัวบุคคล โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่ตนสังกัด ดังนั้น ไม่ว่าจะสังกัดหรือไม่สังกัดพรรค เสรีภาพ ของ สส.ก็ย่อมมีอยู่ ในแง่ของการลงคะแนนเสียงจึงไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ว่าผู้ร่างอาจจะคิดในแง่ดี ที่ต้องการให้การเลือกเป็นไปโดยเสรี โดยนึกถึงประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ  แต่ ข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในประเทศไทยจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหากไม่เป็นเช่นนั้นและ สส.ใช้สิทธินั้นเพราะเหตุแห่งปัจจัยอื่น เช่น เงินที่มีคนให้ จะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง คนร่างคงไม่ได้คิด

    2. การเปิดประชุมโดยตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมนั้น เมื่อกำหนดวันใดเป็นวันเปิดประชุมแล้ว สภาก็ย่อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกชนิดได้ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป  ส่วนการนัดหมายให้มาประชุมกันนั้นเป็นเรื่องตามข้อบังคับของสภา ซึ่งกำหนดให้สำนักงานเลขาธิการสภาฯ เป็นผู้นัดหมาย ซึ่งตามข้อบังคับดูเหมือนกำหนดให้นัดหมายล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 ธันวาคม 2551