ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    026258 การสงวนคำแปร,การสงวนความเห็นคืออะรสมาชิกใหม่4 กุมภาพันธ์ 2551

    คำถาม
    การสงวนคำแปร,การสงวนความเห็นคืออะร
    ผมป็นสมาชิกใหม่ไม่เข้าใจคำว่าการสงวนคำแปรญัตติและการสงวนความเห็นของคณะกรรมการฯคืออะไรใช้เมื่อไหร่และมีผลอะไร
    คำตอบ

    การสงวนคำแปรญัตติ คือ กรณีที่สมาชิกเสนอคำขอต่อคณะกรรมาธิการให้แก้ไขข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดในร่าง พระราชบัญญัติที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ แล้วกรรมาธิการไม่เห็นด้วยกับการขอให้แก้ไขนั้น สมาชิกผู้ยื่นคำขอ (ซึ่งเรียกว่า "ผู้ขอแปรญัตติ" หรือ "ผู้แปรญัตติ") ยังติดใจ จึงสงวนไว้เพื่อนำกลับมาพูดในที่ประชุมสภา เพื่อให้สภาตัดสินอีกทีหนึ่ง เรียกว่า "การสงวนคำแปรญัตติ"

    สำหรับคำว่า "กรรมาธิการสงวนความเห็น" นั้นหมายถึง การพิจารณาในคณะกรรมาธิการ แล้วมีกรรมาธิการคนหนึ่งหรือหลายคน ไม่เห็นด้วยกับมติของกรรมาธิการ จึงสงวนความเห็นไว้เพื่อนำกลับมาเสนอในที่ประชุมสภา เพื่อให้สภาตัดสิน

    ผู้สงวนคำแปรญัตติ ก็ดี กรรมาธิการที่สงวนความเห็นไว้ก็ดี ต้องได้รับโอกาสให้อภิปรายเมื่อที่ประชุมพิจารณาถึงมาตราหรือเรื่องที่แปรญัตติ หรือสงวนไว้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 กุมภาพันธ์ 2551