ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    025380 สิ่งที่ อาจารย์เคยสอนลูกศิษย์ทางเนท23 ธันวาคม 2550

    คำถาม
    สิ่งที่ อาจารย์เคยสอน

    ผมเคยอ่านบทความอาจารย์หลายครั้ง

    อาจารย์จะเน้นว่า กม. ไม่ควรออกมาเยอะเพราะริดรอนสิทธิของประชาชน

    การออก กม. ควรพิจารณาให้ดี และควรออกกม. ให้น้อยที่สุด

    แต่สิ่งที่อาจารย์ทำกับประเทศไทยและประชาชนชาวไทย ในหลายวันที่ผ่านมา

    ทาง สนช. ตรงข้ามกับอาจารย์พูดไว้เลยนะครับ

    เสียใจจริง ๆ อาจารย์ก็เกิดจากลูกคนธรรมดา เป็นคนธรรมดามาตลอดชีวิต

    ไม่ใช่หรือครับ ทำไมทำกับประชาชนแบบนี้

    คำตอบ

    ใช่แล้วในความคิดเห็นส่วนตัวนั้น ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรมีการออกกฎหมายมามากนัก เพราะกฎหมายเป็นคำสั่งคำบังคับ ออกมากเท่าไรก็เป็นการริดรอนสิทธิของประชาชนมากขึ้นเท่านั้น  แต่ในฐานะประธานสภานั้น จะเอาความคิดเห็นส่วนตัวมาปฏิเสธการปฏิบัติหน้าที่คงไม่ได้ เพราะกฎหมายนั้นส่วนใหญ่เมื่อรัฐบาลเสนอมาแล้ว สภาก็มีหน้าที่ต้องพิจารณา  และในการพิจารณานั้น ประธานสภาได้แต่กำกับการประชุม ส่วนกฎหมายจะผ่านหรือไม่ผ่านย่อมขึ้นอยู่กับสมาชิกเสียงข้างมาก ประธานไม่มีสิทธิแม้แต่จะแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพราะจะเสียความเป็นกลางได้

         นอกจากนั้นในการบริหารบ้านเมือง จำเป็นต้องมีกฎหมายในหลายเรื่อง กฎหมายที่มีอยู่เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ล้าสมัย ไม่ทันต่อเหตุการณ์ การปล่อยไว้โดยไม่แก้ไขปรับปรุง ก็จะเป็นผลร้ายต่อประชาชนทั่วไปได้  เมื่อรัฐบาลหรือสมาชิกเสนอให้แก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ทันสมัยขึ้น ก็เป็นเรื่องดี หรือบางเรื่องที่ไม่เป็นธรรม เช่น บังคับให้ทุกคนที่มีรถยนต์ต้องประกันภัยเพื่อบุคคลที่สาม แต่คนส่วนหนึ่งมักจะเอาประกันอีกต่างหากอยู่แล้ว กลับยังต้องประกันซ้ำตามกฎหมายอีก เป็นการซ้ำซ้อนกัน เขาก็ดำเนินการแก้ไขให้ไม่ซ้ำซ้อนกัน หรือกรณีที่ประชาชนทั่วไปเขารวมตัวกันทำกิจกรรมดี ๆ อยู่แล้ว แต่ไม่มีกฎหมายรองรับเขา การออกกฎหมายเพื่อรองรับก็เป็นสิ่งดี  หรือกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติก็ดี กฎหมาการทะเบียนราษฎรก็ดี ก็เป็นกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาของคนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งอยู่อย่างปราศจากสิทธิใด ๆ ทั้งปวง กฎหมายทั้งสองฉบับนั้นก็เพื่อไปดำเนินการให้เขามีที่อยู่และที่ยืนได้บ้างตามสมควร หรืออย่างกฎหมายของมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ก็ต้องเข้าใจว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเขาก็มีกระบวนการในการฟังความคิดเห็นจนได้เสียงส่วนมากเห็นด้วยแล้วจึงจะเสนอมายังสภา  การที่มีคนบางส่วนไม่เห็นด้วยก็เป็นของธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อคนส่วนมากเขาเห็นด้วยแล้ว ก็ต้องเป็นไปตามเสียงของคนข้างมาก มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็เดินไปข้างหน้าไม่ได้

          กฎหมายที่ออกมานั้น ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น กฎหมายใหม่ ๆ มีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก  และส่วนใหญ่ก็เป็นกฎหมายที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วไป

          ที่คุณถาม ๆ มาน่ะ เคยอ่านกฎหมายที่เขาเสนอหรือพิจารณากันบ้างหรือเปล่าล่ะ  การจะต่อว่าต่อขานใครนั้น ต้องศึกษาดูให้ถี่ถ้วน ไม่ใช่ฟังเขาว่า ก็ว่าตาม ๆ กันไป  


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 ธันวาคม 2550