ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024641 ปัญหา 111 โลกแตกโต18 พฤศจิกายน 2550

    คำถาม
    ปัญหา 111 โลกแตก

    สวัสดีครับอาจารย์ ขณะนี้ที่สงสัยมากคือเรื่องอดีตกกรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ที่ตอนนี้เกิดเรื่อง เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)มีมติห้ามดำเนินกิจกรรมสารพัด จนแต่ละพรรคที่มีบรรดาคนเหล่านี้ออกมาโวยวายว่า เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และอ้างอีกว่าการจัดกัดสิทธิทางการเมืองลักษณะนี้ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550

     

    ตอนนี้ใกล้เลือกตั้งแล้ง ยังมีอะไรต่อมิอะไรที่สันสบออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งบางทีสังคมตั้งข้อสงสัยการทำงานของกกต.เหมือนกันว่า ชักเข้าชักออก เหมือนคิดจะฆ่าหนูตัวเดียว ใยต้องจุดไฟเผาทั้งป่า

     

    ช่วยแจงแถลงไขในทางกฎหมายทีครับ ... 

    คำตอบ

    ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ หากมีคนถามไปที่ กกต. ๆ มีหน้าที่ต้องตอบให้เขาทราบภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ดูเหมือนจะ ๓๐ วัน) บัดนี้ มีคนถามเรื่องขอบเขตของการดำเนินการทางการเมืองของคน 111 คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิ ว่าทำอะไรได้มากน้อยเพียงใด  กกต.เขาก็ตอบให้ตามที่ถามมา จะไปว่าเขาชักเข้าชักออกเห็นจะไม่ได้ เพราะอันที่จริง กกต.ก็คงไม่ค่อยอยากตอบเท่าไรนัก แต่เมื่อกฎหมายบังคับให้ตอบ เขาก็ตอบเฉพาะเรื่องที่มีคนถาม  ส่วนเมื่อตอบแล้ว คนไม่เชื่อหรือไม่เห็นด้วย  กกต.เขาก็คงไม่ว่าอะไร แต่เมื่อไรเกิดเรื่องขึ้นและเรื่องมาถึงเขา เขาก็คงวินิจฉัยตามที่เคยตอบให้ทราบ   หากคนถูกวินิจฉัยไม่พอใจ ก็อาจไปร้องต่อศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญได้  ซึ่งก็ต้องเสี่ยงเอาเอง ถ้าศาลเห็นด้วยกับ กกต. คนนั้นก็จะได้รับผลร้าย  แต่ถ้าศาลเห็นคนละอย่างกับ กกต. ก็รอดตัวไป

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 พฤศจิกายน 2550