ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024611 การเลือกตั้งกับกกต.หนุ่มรักเลือกตั้ง15 พฤศจิกายน 2550

    คำถาม
    การเลือกตั้งกับกกต.

    สวัสดีครับ ผมมีข้อหารือที่สอบถามอาจารย์ ดังนี้

                   ๑. กรณีบทบัญญัติมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใดปิดประกาศหรือติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในสาธารณสถานซึ่งเป็นของรัฐ หรือในที่เอกชน คำว่า "ในที่เอกชน" ตามมาตราดังกล่าวจะหมายถึงสถานที่ทุกแห่ง รวมถึงบ้านของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใช่หรือไม่

                   ๒. หากคำว่า "ในที่เอกชน" ตามมาตรา ๖๐ มิได้หมายรวมถึงสถานที่ทุกแห่งแล้ว  คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถใช้อำนาจตามมาตรา ๑๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง       พ.ศ.๒๕๕๐ ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นเพื่อกำหนดในที่เอกชนใดสามารถที่ติดประกาศหรือแผ่นป้ายหาเสียงได้ หรือในที่เอกชนใดไม่สามารถที่ติดประกาศหรือแผ่นป้ายหาเสียง เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้สมัคร ได้หรือไม่

                     ๓.บุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสามารถช่วยเหลือผู้สมัคร หรือ พรรคการเมือง หาเสียงเลือกตั้ง เช่น ขึ้นเวทีปราศรัย ถ่ายรูปคู่กับผู้สมัคร เป็นบุคคลผู้ช่วยหาเสียง เป็นต้น ได้หรือไม่  

                     ๔. กรณีบทบัญญัติมาตรา ๑๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำหนดให้การตอบข้อหารือของคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามมิให้ปฏิบัติของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องตอบข้อหารือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อหารือ  ถือว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องเป็นผู้ตอบข้อหารือเท่านั้น เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะตัว ใช่หรือไม่  หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถมีมติคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อมอบอำนาจให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ตอบข้อหารือแทน ได้หรือไม่

    คำตอบ

    1. ใช่

    2.  เมื่อเป็นที่เอกชน กกต.ก็ไม่มีอำนาจไปริดรอนสิทธิของเอกชน เว้นแต่เจ้าของเขาแสดงความยินยอมไว้

    3. กกต.เขากำลังพิจารณาอยู่ว่า จะทำได้มากน้อยเพียงใด ตอนนี้คงต้องรอฟังเขาก่อน

    4. มอบอำนาจได้ แต่เมื่อมอบแล้วคำตอบของคนที่รับมอบก็ต้องผูกพัน กกต.

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 พฤศจิกายน 2550