ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    021349 สงสัยเกี่ยวกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญครับอันอัน12 เมษายน 2550

    คำถาม
    สงสัยเกี่ยวกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญครับ

    คือผมได้อ่าน ตารางเปรียบเทียบที่ สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำขึ้น

    เป็นตารางเทียบรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2475 - 2549

    คือสงสัยว่า

    1. อภิรัฐมนตรี ซึ่งมีบัญญัติไว้ในฉบับปี 2490 ในมาตรา 9 ที่มีไว้ให้ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน กับ องคมนตรี ในฉบับอื่นๆ มีหน้าที่เหมือนกันหรือไม่

    2. พฤฒสภา เหมือนกับวุฒิสภาหรือไม่

    3. ตรงบททั่วไป ที่ว่า (ม.7) เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองในระบอบ ปชต. อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใน รธน. ปี 2540  แต่ฉบับอื่นๆ เขียนต่างกัน คือ ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ ปชต. ผมว่าอย่างหลังชัดเจนกว่าอีก แต่สงสัยว่า ประเพณีการปกครองที่ใช้ในการวินิจฉัย เอาอะไรเป็นเกณฑ์ว่า สิ่งที่ทำนี่เป็นประเพณีการปกครองในระบอบ ปชต.

    4. ด้วยร่าง รธน. ปี 2550 คือที่มีข่าวว่า ม.67 ที่ให้ประมุข 8 องค์กร แก้วิกฤติชาติ ผมไม่เข้าใจว่า มันรวมถึงความหมายที่ว่า นายกรัฐมนตรี หรือ บุคคลที่ระบุ อาจจะถูกประมุข 8 องค์กรเชิญออกจากตำแหน่งได้ด้วยหรือไม่ หากประมุข 8 องค์กรมีมติอย่างนั้น คือถ้ามันมีความหมายแบบนั้น มันจะดูเหมือนการรัฐประหารเงียบหรือเปล่า ?

    สุดท้ายนี้ ผมคิดว่า การทำประชามติร่าง รธน. ปี 2550 นี้ อาจลำบากเสียหน่อย

    เพราะประชาชนระดับรากหญ้าที่แท้จริงจะอ่านร่าง รธน. สักกี่คน คือมันค่อนข้างออกไปในทางวิชาการมากเกินไป

    ขอบคุณครับล่วงหน้า กับคำตอบ

    คำตอบ

    1. เหมือนกัน

    2. เหมือนกัน

    3. อะไรที่ใช้และยอมรับกันมานานก็ถือเป็นประเพณีได้

    3. ยังไม่เห็นต้นฉบับเลยบอกไม่ถูก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 เมษายน 2550