ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    020527 ประชาชนมีสิทธิ "ไม่เลือก" หรือไม่TPJ9 กุมภาพันธ์ 2550

    คำถาม
    ประชาชนมีสิทธิ "ไม่เลือก" หรือไม่
    อยากให้รัฐธรรมนูญใหม่ให้เสียงของประชาชนที่มาออกเสียงทุกเสียงมีความหมายจริงๆ กล่าวคือถ้ากาช่อง "ไม่เลือก" นั้นหมายถึงไม่เอาทั้งหมด นั่นคือ ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งนอกจากจะต้องได้คะแนนเสียงสูงสุดมากกว่าคู่แข่งแล้ว ยังต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่กา "ไม่เลือก" ด้วย
    ในอดีตคะแนน "ไม่เลือก" นั้นแทบไม่มีความหมายเลย เกือบเทียบเท่าบัตรเสีย ทั้งๆ ที่เจตนาของผู้ที่กาช่องนี้แปลว่าไม่เอาใครเลย จึงเป็นการแปลเจตนาของประชาชนผู้ใช้สิทธิผิดไปก็ว่าได้ ทั้งๆ ที่การไม่รับรองผู้สมัครทั้งหมดนั้นก็เป็นสิทธิของประชาชนเช่นกัน
    ที่ผ่านมาประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งประมาณ 60% ถ้าเราลองวิเคราะห์ 40% ที่ไม่ไปใช้สิทธิ คนที่จำเป็นไปไม่ได้จริงๆ ไม่น่าจะถึง 10% จากประสบการณ์ที่สอบถามคนที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ ส่วนใหญ่จะตอบว่าเบื่อการเมือง ไม่เห็นมีใครน่าเลือก แม้สื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเองจะบอกว่าถ้าไม่รู้จะเลือกใคร ก็เลือกคนที่เลวน้อยที่สุดก็แล้วกัน "คนที่เลวน้อยที่สุด" นั้นเป็นมาตรฐานที่ต่ำเหลือเกินสำหรับนักการเมือง ส่วนอีก 30% ที่เหลือจึงน่าจะเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการเลือกใครนั่นเอง ในขณะที่คะแนนของผู้ที่ชนะเลือกตั้ง ก็จะมีคะแนนอยู่ที่ระดับ 30% เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าเราให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชนที่ "ไม่เลือก" ใครให้มีความหมายอย่างแท้จริง ก็จะสามารถจูงใจให้ประชาชนกลุ่มนี้ออกมาใช้สิทธิ รวมกับคะแนนไม่เลือกของผู้ที่มาใช้สิทธิ ก็จะเป็นด่านสำคัญที่ช่วยสกัดกั้นนักการเมืองไม่ดี ไม่ให้ได้รับเลือกตั้งเข้ามา
    สมมติในเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้มีสิทธิออกเสียงสัก 150,000 คน ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิ 60% แสดงว่ามีผู้ไม่มาใช้สิทธิ 40% ถ้าในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีเหตุจำเป็นสัก 10% ที่เหลือเป็นพวกไม่รู้จะเลือกใคร 30% คิดออกมาเป็นคะแนนเสียงถึง 45,000 เชียวนะครับ
    วิธีการนี้ไม่ได้ป้องกันการซื้อเสียง แต่เชื่อว่าจะทำให้การซื้อเสียงได้ผลยากขึ้นเป็นอย่างมาก
    จากตัวอย่างการเลือกตั้งปี 2549 ก็มีการใช้เกณฑ์คะแนน 20% ได้ผลอยู่บ้างเป็นบางเขตที่มีผู้สมัครคนเดียว แต่ต่อไปเกณฑ์ 20% คงมีโอกาสใช้น้อยแล้ว เพราะพรรคการเมืองมีประสบการณ์ ต่อไปคงมีการเตรียมพรรคและผู้สมัครประกบไว้ จึงอยากจะให้ขยายแนวความคิดนี้ให้ครอบคลุมมากขึ้น
    ถ้าผลการเลือกตั้งออกมาไม่มีใครได้รับเลือกเลย ก็กำหนดให้เลือกตั้งรอบใหม่ ผู้สมัครทั้งหมดในรอบเดิม ที่ประชาชน "ไม่เลือก" ก็หมดสิทธิสมัครรอบใหม่ไป เปิดโอกาสให้คนอื่นมาสมัครบ้าง ใครที่ถูกร้องเรียนว่าซื้อเสียง และประชาชน "ไม่เลือก" ในการเลือกตั้งรอบนั้น ก็หมดสิทธิสมัครรอบใหม่ไปโดยปริยายอยู่แล้ว ลดภาระกกต. เรื่องแจกใบเหลืองใบแดง หรือจะได้มีเวลามากขึ้น เลือกตั้งเสร็จค่อยมาสะสางกันต่อ
    แล้วถ้าไม่มีใครได้รับเลือกเลย จะต้องเลือกตั้งสักกี่รอบถึงจะจบ? ขอเปรียบเทียบกับฟุตบอลรอบชิง ถ้าเสมอกันจะต้องต่อเวลาเท่าไหร่ก็ตาม ในที่สุดก็ยังเตะลูกโทษ ทางออก อาจจำกัดจำนวนรอบในการเลือกตั้งสูงสุดเนื่องจากสาเหตุนี้ไว้ ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และระดับการเลือกตั้ง เช่นระดับชาติ จังหวัด ฯลฯ แล้วถ้าเลือกใครไม่ได้จริงๆ :
    1. เขตนั้นไม่ต้องมีผู้ได้รับเลือก โดยยุบเขตเลือกตั้งไปรวมกับเขตอื่นที่อยู่ติดกันโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนผู้ได้รับเลือก หรือ
    2. ถวายฎีกาขอให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้ง หรือ
    3. ทางอื่นที่ท่านเห็นสมควร (ช่วยกันคิด)

    ข้อดี
    1. กำจัดผู้สมัคร "ยี้" ออกไปจากระบบ
    2. ดึง "พลังเงียบ" ของประชาชน ให้ออกมาใช้สิทธิอย่างเต็มใจ ไม่ต้องถูกบังคับด้วยการไปตัดสิทธิต่างๆ
    3. สนับสนุนให้คนดีมีกำลังใจมารับใช้บ้านเมืองด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย (อาจรอลงสมัครรอบสอง)
    4. เพิ่มสิทธิทางการเมืองให้กับประชาชนอย่างเป็นธรรมชาติ คือมีสิทธิที่จะไม่รับรองผู้สมัครได้ด้วย
    5. ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมีความภาคภูมิใจว่าประชาชนเลือกมาจริงๆ อย่างน้อยก็ได้คะแนนเสียงมากกว่าคนที่ไม่เอาทั้งหมด ไม่เหมือน "ยี้" ในปัจจุบันที่เอาแต่อ้างว่าประชาชนเลือกผมหรือดิฉันมา แต่ในใจลึกๆ ตัวเองก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจ
    6. ได้ผู้แทนที่มีคุณภาพดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน
    7. ซื้อเสียงยากขึ้น เดิมประชาชนที่มีใครมาซื้อเสียง เวลาเข้าคูหา มีทางเลือกแค่ "งดออกเสียง (ไม่เลือก)" หรือทำบัตรเสียซึ่งมีค่าเท่ากัน ที่เหลือส่วนใหญ่ก็คงเลือกคนที่ซื้อเสียง ถ้าผู้สมัครตัวเก็งทุกคนซื้อเสียง ใครซื้อเสียงมากที่สุดก็ยังคงได้รับเลือก เขาถึงซื้อกันได้ แต่ถ้าใช้วิธีนี้จะมีทางออกเพิ่มขึ้นมาให้กับประชาชน ที่จะล้มกระดานไม่เอาซักคน เพราะไม่มีใครถูกใจเลย
    8. เหมาะสำหรับพรรคการเมืองที่มีนโยบายไม่ซื้อเสียงอย่างแท้จริง (มี "นโยบายไม่ซื้อเสียง" ไม่เหมือนกับ "ไม่มีนโยบายซื้อเสียง") ส่งเสริมให้หาเสียงกันด้วยแนวความคิด นโยบาย ผลงาน
    9. ปัญหาในบ้านเมืองเราส่วนใหญ่ สามารถโยงได้ว่ามีสาเหตุมาจากการเมือง ที่เกิดจากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต ถ้าเราสามารถดึงดูดคนดีให้เข้ามาสู่การเมืองได้มากพอ ก็จะเป็นน้ำดีไล่น้ำเสีย ประเทศชาติย่อมมีแต่ความเจริญอย่างแน่นอน
    สรุป กฎหมายเลือกตั้งแบบนี้ คือผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งนอกจากจะต้องได้คะแนนเสียงสูงสุดมากกว่าคู่แข่งแล้ว ยังต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่กา "ไม่เลือก" ด้วย
    เชื่อว่าถ้านักการเมืองเป็นผู้ออกกฎหมายคงออกมายาก เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะที่สุด ทำได้คิดได้เต็มที่ กระผมผมทราบดีว่าท่านไม่ได้อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ในฐานะประธานสนช. และเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง กระผมเชื่อว่าถ้าหากท่านเห็นด้วยและช่วยผลักดัน ความคิดเห็นของท่านมีจะน้ำหนักมาก  จึงหวังอยากให้โปรดพิจารณาด้วยขอรับ
    คำตอบ

    ความคิดของคุณในเรื่องที่เกี่ยวกับผลของการลงคะแนน "ไม่เลือก" ใครนั้น น่าจะเป็นผลดี  ควรส่งความเห็นไปให้คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของ สสร.

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กุมภาพันธ์ 2550