ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018755 การปฏิรูปรัฐธรรมนูญและการเมืองAeng27 กันยายน 2549

    คำถาม
    การปฏิรูปรัฐธรรมนูญและการเมือง

    เรียน อาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ผมรู้สึกเลื่อมใสในตัวอาจารย์มานานแล้ว ผมไม่ได้เป็นแฟนพันธ์แท้ถึงขนาดไปไล่ศึกษาประวัติของอาจารย์หรอกนะครับ ผมก็แค่คอยฟังที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์ตามรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจในเรื่องต่างๆอย่างแจ่มแจ้ง เป็นขั้นเป็นตอน คนที่สามารถเอาเรื่องที่สลับซับซ้อนมาพูดอธิบายให้เป็นเรื่องง่ายได้ต้องเป็นคนเก่งและเข้าใจในเรื่องนั้นๆจริงๆ  ผมรู้สึกว่าแค่ติดตามฟังคนๆหนึ่งพูดซักหลายๆครั้ง เราก็จะพอได้ข้อมูลพอสมควรว่าคนๆนี้เป็นคนอย่างไร มีความคิดอย่างไร เป็นคนเก่ง หรือไม่เก่ง เช่น เคยมีคนๆหนึ่งพูดว่า “ขอให้พี่น้องออกมาใช้สิทธิ์เลือกผมเป็นนายก ในวันเลือกตั้งวันเดียวก็พอ ที่เหลือผมจัดการเอง”  หรือ “ใครที่เลือกเรา เราก็ต้องให้ความสำคัญมากกว่า” ผมฟังแค่นี้ผมก็รู้แล้วว่าคนๆนี้ไม่มีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยเลยแม้แต่น้อย

    ว่าแต่เขา ความจริงผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยซักเท่าไหร่เหมือนกัน ถ้าอาจารย์อ่านคำถามของผมต่อไปก็จะทราบว่าทำไมผมจึงพูดเช่นนี้

    คำถามแรก สั้นๆ ง่ายๆ ประชานิยม คือ จุดอ่อนของระบอบประชาธิปไตย ใช่หรือไม่ เพราะผมคิดอย่างไรก็คิดไม่ออกว่ามันผิดกฎหมายตรงไหน หรือแม้แต่ผิดหลักประชาธิปไตยตรงไหน แต่มันเป็นผลเสียต่อประเทศชาติแน่ๆ  มันเหมือนกับการเลี้ยงดูเด็กแบบ spoil  แล้วอาจารย์คิดว่าเราจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรครับ

    คำถามสุดท้าย เป็นคำถามที่ยาวกว่ามาก คือมีหลายคนบอกว่าปัญหาของรัฐธรรมนูญปัจจุบันอยู่ที่วุฒิสภา และ บรรดาองค์กรอิสระที่ถูกครอบงำได้โดยง่าย แต่ผมคิดว่านั่นยังไม่ใช่รากเง้าที่แท้จริงของปัญหา ปัญหามันอยู่ที่ประชาชนคนไทยเนี่ยแหละ เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ขึ้นกับประชาชน ประชาชนฉลาดก็ได้นักการเมืองที่ดี ประชาชนไม่ฉลาดก็ได้นักการเมืองเลว ถ้าประชาชนฉลาดต่อให้รัฐธรรมนูญมีข้อผิดพลาดอยู่บ้างก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่เพราะอำนาจอยู่ที่ประชาชน แค่ไม่ไปเลือกคนเลวปัญหาก็จะถูกแก้ไขไปโดยอัตโนมัติ ในทางตรงกันข้ามถ้าประชาชนไม่ฉลาดพอ ต่อให้รัฐธรรมนูญเขียนมาดีแค่ไหน คนเลวพวกนั้นก็จะยังสามารถหาช่องโหว่เจาะเข้ามาจนได้ ขอเพียงทำให้ประชาชนเลือกเค้า เค้าก็จะได้ทุกอย่างที่ต้องการ

    เมื่อเป็นเช่นนี้ผมอยากอธิบายถึงมุมมองของผมต่อสภาะของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ผมเริ่มสนใจและเฝ้าติดตามการเมืองมา ผมเห็นนักการเมืองอยู่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากๆ มากว่าครึ่ง กลุ่มนี้จะย้ายพรรคอยู่เป็นประจำ พรรคไหนมีแนวโน้มจะได้เป็นรัฐบาลก็ย้ายไปพรรคนั้น นักการเมืองกลุ่มนี้เวลาเป็นรัฐมนตรีก็โกงกิน เวลาพูดก็เอาแต่ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น เวลาอยู่หน้าสื่อก็เอาแต่สร้างภาพ แต่จนแล้วจนรอดคนพวกนี้ก็ยังได้รับเลือกเข้าสภาทุกครั้ง จนผมได้มาเรียนรู้ภายหลังเกี่ยวกับระบบหัวคะแนน  ที่แท้คนพวกนี้เค้ามีคะแนนเสียงที่เป็นของตายอยู่ในมือ ระบบนี้มันคล้ายกับระบบ Feudal ในยุโรปสมัยก่อน ที่เหล่าชาวนาต้องไปพึ่งพวก Lord เจ้าของที่ดิน ขณะเดียวกัน King  ก็ต้องอาศัยการสนับสนุนจากพวก Lord เหล่านี้ แม้แต่ในพรรคการเมืองเก่าแก่ที่มีความเป็นสถาบันมากที่สุดก็ยังต้องพึงพาระบบนี้อยู่ไม่ใช่น้อย แม้ตัวหัวหน้าพรรคจะเป็นคนดี แต่สุดท้ายก็ยังต้องมาติดเงื่อนไขของระบบนี้อยู่ดี ทำให้ไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างอิสระตามที่ใจต้องการ ผมมองว่านี่แหละคือสิ่งที่ฉุดรั้งประเทศไม่ให้พัฒนาไปไหนซักที ขอเพียงแก้ปัญหาจุดนี้จุดเดียวได้ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเราแก้เฉพาะวุฒิสภาและที่มาขององค์กรอิสระ โอเค เราได้ระบบตรวจสอบที่มีคุณภาพ เป็นธรรม แล้วอย่างไงครับ คนพวกนั้นก็ยังได้รับเลือกตั้งเข้ามากุมอำนาจบริหารได้อีก ตรวจสอบก็ตรวจสอบไป กว่าจะตรวจสอบเสร็จ ก็ไม่รู้โกงไปเท่าไหร่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเข้ามากุมอำนาจบริหารได้ คนพวกนั้นก็จะเริ่มหาช่องโหว่ ค่อยๆแทรกซึมไปเรื่อยๆ สุดท้ายระบบตรวจสอบก็จะถูกพังทลายลงไปอีก

    คำถามของผมก็คือ มันอยู่ในวิสัยที่จะทำได้หรือไม่ ถ้าเราจะตัดคะแนนเสียงที่เป็นของตายของพวกนักการเมืองเลวเหล่านั้นออกไปจากระบบ เสียงที่เป็นของตายแบบนั้นเราต้องนับด้วยหรือครับ มันเป็นเสียงที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตยด้วยหรือครับ บางคนอาจบอกว่าถ้าอย่างงั้นก็ไม่เป็นประชาธิปไตยซิ ทุกคนต้องได้สิทธิเสมอภาคกัน ผมอยากถามกลับว่า แล้วสภาวการณ์ที่ผ่านมาของเมืองไทยเป็นสิบๆปี ต้องเป็นแบบนั้นหรือจึงจะเรียกว่าประชาธิปไตย  สมัยผมเด็กๆ ผมก็แปลกใจว่าทำไมเราบอกว่าเราเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2475 แล้วทำไมหลังจากนั้นจึงมีเผด็จการโผล่ออกมาคนแล้วคนเล่า  ภายหลังจึงได้เข้าใจ มิน่าละเค้าถึงเปิดให้คนส่วนใหญ่ของประเทศได้มีสิทธิ์เลือกตั้งตั้งแต่แรก ที่แท้แบบนี้นี่แหละที่เผด็จการชอบ ยิ่งคนมาก ยิ่งควบคุมได้ง่าย ทำไมเราจะต้องพยายามยัดเยียดความเป็นประชาธิปไตยให้กับคนที่ไม่เคยเห็นคุณค่าอะไรของมันเลย เหมือนกับคุณเอาของที่คุณคิดว่ามีค่าที่สุด ไปให้กับคนๆหนึ่ง แล้วเกิดเค้าไม่เห็นคุณค่าของมัน เอามันไปแลกกับเงินหรือของกินของใช้ที่กินใช้ไม่นานก็หมดไป คุณจะว่าอย่างไง  เกิดมีใครซักคนเอาเงินหรือนโยบายประชานิยมสุดๆมาให้ เพื่อแลกกับการออกไปลงคะแนนเพื่อให้เค้าได้เป็นผู้กุมอำนาจตลอดไป โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบใดๆละ คุณจะว่าอย่างไร 

    เป็นไปได้มั๊ยถ้าเราจะเริ่มต้นด้วยการจำกัดวงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งให้อยู่ในเฉพาะประชาชนกลุ่มหนึ่งที่เราสามารถไว้ใจในวิจารณญาณของพวกเค้า ให้มาจากทุกภาคส่วนของสังคม แต่ต้องเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากพอที่จะไม่มีใครสามารถไปครอบงำจนมีผลกับการเลือกตั้งได้ แน่นอนเมื่อเราทำเช่นนี้ก็จะต้องมีเสียงดีๆมากมายที่พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ผมเองยินดีที่จะสละสิทธิ์ตรงนี้หากผมไม่ได้รับเลือกให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ เราเริ่มจากกลุ่มนี้ก่อน แล้วค่อยๆขยายกลุ่มนี้ให้ครอบคลุมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น อาจกำหนดไว้เลยว่าภายใน 20 ปีต้องครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในระหว่างนี้เราก็จะมีเวลามาปฏิรูปการศึกษาเพื่อปลูกฝังให้ประชาชนในกลุ่มต่างๆให้เข้าใจและคู่ควรกับความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

    ระบบโครงสร้างการเลือกตั้งไปยึดตามพื้นที่ คือให้ประชาชนในพื้นที่ไปเลือกผู้แทนของตนในพื้นที่นั้น มันเป็นเรื่องโชคร้ายที่โครงสร้างแบบนี้บังเอิญไปสอดคล้องกับระบบหัวคะแนนที่หัวคะแนนหนึ่งก็จะมีอิทธิพลในแต่ละพื้นที่เช่นเดียวกัน มันก็เลยทำให้ระบบหัวคะแนนสามารถเข้ามามีอิทธิพลกับระบบเลือกตั้งไปด้วย ถ้าเรามีวิธีที่เปลี่ยนให้ระบบการเลือกตั้งไปยึดตามโครงสร้างอย่างอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่ได้ก็คงดีนะครับ เช่นยึดตามสาขาอาชีพ ให้แต่ละอาชีพไปเลือกตัวแทนของตนเองเข้าไปในสภาเป็นต้น

    ทั้งหมดนี้อาจารย์เห็นว่าพอจะทำได้หรือเปล่าครับ ถ้าทำไม่ได้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เราจะมีวิธีอื่นในการจัดการกับปัญหาที่ผมว่ามาอย่างไรครับ หรือว่าอาจารย์จะเห็นว่าการมองปัญหาของผมยังไม่ถูกต้อง ก็รบกวนช่วยอธิบายให้เห็นทางสว่างหน่อยเถอะครับจะได้เลิกคิดเรื่องนี้ซักที ผมยังเห็นว่าถ้าจะทำก็มีแต่คณะปฏิวัตินี่แหละครับที่จะทำได้ ถ้าเป็นนักการเมืองแค่พูดออกมาก็คงจะถูกหาว่าดูถูกประชาชนเข้าให้แล้ว เป็นนักการเมืองต้องพูดว่า “ผมเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย” ใช่มั๊ยครับ ใครๆก็มีสิทธิที่จะคิดอย่างงั้นครับ แม้แต่ชนเผ่าที่ล้าหลังที่สุดในป่าลึกอัฟริกาก็สามารถคิดได้ว่าเผ่าตัวเองเก่งกาจยิ่งกว่าชาวผิวขาวโลกตะวันตก แต่ความจริงมันก็คือความจริง ถ้าชนเผ่านั้นคิดอย่างงั้นพวกเค้าก็จะไม่ทำอะไรที่จะเป็นการเริ่มต้นปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าพวกเค้ายอมรับความเป็นจริงแล้วเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เชื่อว่าว่าสักวันหนึ่ง พวกเค้าก็อาจจะอยู่ในจุดที่ทัดเทียมกับชนชาติอื่นๆในโลกได้

    ด้วยความเคารพ
    Aeng

    คำตอบ

    เรียน Aeng

          ความเห็นในเชิงคำถามของคุณนั้นเป็นเรื่องที่น่าคิด แต่ถ้าจะถามว่าในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบก็คือ เป็นไปไม่ได้ เพราะแม้สิ่งที่คุณว่ามาจะมีส่วนถูกต้องอย่างมาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนได้แต่คิด แต่จะไม่มีใครกล้าพูดอย่างเปิดเผย เพราะจะแสลงหู และไม่เป็นที่ "ถูกใจ" ของคน  สภาพปัญหาของบ้านเราที่สำคัญอยู่ที่ว่า คนไม่น้อยรู้ว่า ปัญหาทั้งปวง "ควร" จะแก้ไขอย่างไร แต่สิ่งที่พูดออกมา มักจะเป็นเรื่องที่ "กลุ่มผลประโยชน์" หรือ "กลุ่มที่รวมตัวกันได้"  "อยากได้ยิน" เสียมากกว่า เพราะสิ่งที่ "ควร" นั้น มักจะไม่ค่อยน่าฟัง หรือแสลงหู

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 กันยายน 2549