ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018651 คำสั่งและประกาศของคณะปฎิรูปฯนฤชิต22 กันยายน 2549

    คำถาม
    คำสั่งและประกาศของคณะปฎิรูปฯ

    สวัสดีครับ 

               ผมอยากขอรบกวนเวลาและขอความรู้ดังนี้ครับ

    1. คำสั่งและประกาศ ของคณะปฏิรูปฯ  มีผลเป็นกฎหมายหรือไม่  เพราะเหตุใด โดยส่วนตัวผมคิดว่าบางคำสั่ง / ประกาศ  เป็นกฎหมาย  แต่บางอันไม่เป็น แต่ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลทางกฎหมายในทางทฤษฎีได้ 

     เช่นคำสั่งให้ อธิการบดีบางมหาลัยฯ หรือ ปลัดกระทรวงต่างๆ เข้ารายงานตัว  ไม่ไปได้ไหมครับ  หรือ คำสั่งให้คุณเนวินกับคุณยงยุทธมารายงานตัว จะไม่ปฏิบัติตามได้ไหม

        ขอรบกวนคำตอบในลักษณะทางนิติทฤษฎี  โดยไม่พิจารณาในข้อเท็จจริงด้านการคุมกำลัง

    2. ขณะนี้ (ก่อนร่างธรรมนูญการปกครอง) ถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 ยังมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่  เพราะเหตุใด

    3. การที่อดีตใครสักคนที่เราไม่ควรเอ่ยนามถึง (หรือตอนนี้พวกผมเรียกกันว่า คนที่คุณก็รู้อยู่ว่าใคร)  ออกมาประกาศปลด ผบ.ทบ. ไปประจำ สำนักนายกฯ  และประกาศใช้ พรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน  ก่อนที่จะยึดอำนาจสำเร็จ  ถือว่าคำประกาศ/ คำสั่ง  นั้น เป็นกฎหมายหรือไม่  และยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันหรือไม่ โดยเฉพาะ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน  (ณ วันที่ 22 ก.ย. 49)

    4. ขั้นตอนต่อไปของการปฏิรูประบบการเมืองตามแนวทางของคณะปฏิรูปฯ  จะมีขั้นตอนทางกฎหมายอย่างไร  จึงจะเกิดขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่ถูกโต้แย้งในประเด็นข้อกฎหมายในภายหลัง

    5. ถ้าเมืองไทยมีการปฏิวัติบ่อยๆ  (ในอดีตจนถึงปัจจุบัน) จนประชาชนเกิดการยอมรับโดยปริยายว่า การปฏิวัติเป็นทางออกหนึ่งตามปกติ เป็นธรรมเนียมหรือจารีตปฏิบัติไปแล้ว ที่เมื่อรัฐบาลใดๆ ก็ตามมีปัญหาไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนหนึ่ง  และการปฏิวัตินั้น ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง  ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขปัญหาทางการเมือง    เช่นนี้ จะถือว่าการปฏิวัติกลายเป็น ส่วนหนึ่งของกฎหมายมันมีบ่อเกิดมาจากจารีตประเพณีในสังคมได้หรือไม่ครับ 

          คำถามอาจจะยาวและหลายข้อหน่อย  แต่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงถึงกันหมดในประเด็นหลักประเด็นเดียว คือ  การดำเนินการของคณะปฎิรูปฯ จะอธิบายในทางนิติศาสตร์ (โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ) ได้อย่างไร  จึงใคร่ขอความกรุณาอาจารย์ชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ    อนึ่ง  ถ้าไม่สามารถตอบได้หมด  ขอความกรุณาชี้แนะรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ผมจะสามารถหาคำตอบได้จากที่ใด บทความ หรือหนังสืออะไร เป็นต้น

            ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ 

     

     

    คำตอบ

    กรุณาดูคำตอบ 18625

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 กันยายน 2549