ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018088 การตีความรัฐธรรมนูญสุมน3 สิงหาคม 2549

    คำถาม
    การตีความรัฐธรรมนูญ

    รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๐ วรรคแรก บัญญัติว่า กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

    ดูจากประกาศของศาลฎีกา เรื่องรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็น กกต.แล้ว เห็นมีอยู่ ๒ ท่าน คือ ท่านธีรศักดิ์ กรรณสูตร อดีตประธาน กกต.และ ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช อดีต กกต. ซึ่งถือว่าทั้งสองท่านเคยดำรงตำแหน่ง กกต.มาแล้ว แต่ได้รับการเสนอชื่อจากศาลฎีกาอีก คิดว่าผู้เสนอชื่อคงเป็นนักกฎหมาย ท่านผู้ได้รับการเสนอชื่อก็เป็นนักกฎหมายมีตำแหน่งสูงในศาลมานาน

    ทำให้สงสัยว่า ที่รัฐธรรมนูญให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ผมเข้าใจว่าถ้าดำรงตำแหน่งมาแล้วจะกี่วันก็นับเป็นหนึ่งวาระ จะดำรงตำแหน่งอีกไม่ได้ แต่พอทั้งสองท่านได้ยินยอมให้เสนอชื่อท่าน และผู้เสนอซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ผมซึ่งไม่ใช่นักกฎหมาย ทำให้ไม่มั่นใจว่า การตีความในรัฐธรรมนูญเขาตีความเพียงวาระเดียวกันอย่างไร ท่านทั้งสองจึงยินยอมรับการเสนอชื่ออีก ผู้เสนอชื่อก็คงเป็นนักกฎหมายก็ยังเสนอชื่อท่านอีก เขาตีความให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียวอย่างไร

    คำตอบ

     ตามมาตรา ๓๒๑ ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นบทเฉพาะกาล ได้บัญญัติว่า บรรดา ปปช. กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่วุฒิสภาชุดที่มาจากการแต่งตั้งชุดสุดท้ายเป็นผู้เลือกนั้น ให้มีวาระเพียงครึ่งเดียวจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่ให้นำบทบัญญัติที่ให้เป็นได้วาระเดียวมาใช้บังคับกับคนเหล่านั้น จึงสามารถสมัครใหม่ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 สิงหาคม 2549