ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    017258 เราตีความกฎหมายเพื่อใครคนเชียงใหม่23 มิถุนายน 2549

    คำถาม
    เราตีความกฎหมายเพื่อใคร

    สวัสดีครับ ผมมีคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานทางการตีความกฎหมายของนักกฎหมายไทย

    ผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับ ว่าผมไม่ใช่นักกฎหมาย แต่เป็นแค่คนไทย 1 คน

    และคิดตัวเองยืนอยู่บนเสียงข้างมากด้วยเพราะผมไม่มีความรู้เรื่อง กฎหมาย

    ผมมีความแปลกใจเกี่ยวกับการตีความ บังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย

    ผมมีตัวอย่าง 2 ตัวอย่างนะครับ

    1. เรามีการแจกรางวัลทางทีวี ทั้งรายการข่าวและฟุตบอลโลก
    สื่อมวลชนใช้วิธีการให้ผู้ชมทางบ้าน ส่ง sms หรือ ว่าโทรเข้ามาในรายการเยอะๆ

    ตอนแรกอ้างว่าชิงโชค แต่หลังจากที่ โดนชี้ว่าทำผิดกฎหมายจึง ใช้วิธการเดิม

    เพียงแต่เลี่ยงไปบอกว่า ได้กำหนดไว้แล้วว่าหมายเลขเท่าไหร่ ที่จะได้รับรางวัล

    ผลคือ ประชาชนยังได้เล่น สนุกเหมือนเดิม ทุกอย่างเหมือนเดิม แต่พูดต่างกัน

    กลายเป็นไม่ผิดกฎหมาย

    2. เรื่องกฎหมายป่าชุมชน อย่างที่เป็นกรณีที่ผู้มีความรู้ทั้งหลายได้ยกตัวอย่างบ่อยครั้ง แหละครับ ที่ว่ากฎหมายไป บุกรุกคนที่อาศัย อยู่ในป่าดั่งเดิม แล้วไม่รู้

    ว่าสุดท้ายแล้วใครผิดใครถูก

    แสดงว่าเราตีความกฎหมายตามลายลักษณ์ อักษร ไม่ได้ดูที่เจตนา

    ผมมีความคิดเห็นว่าบ้านเมืองเรานี้ที่มีปัญหา เพราะเรามอง กฎหมายเป็นเครื่องมือ เพื่อตักตวงผลประโยชน์

    ตีความแบบ เอาดีใส่ตัว เอาไม่ดีใส่คนอื่นๆ

    ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะถามอาจารย์ง่ายๆ ว่า

    1.จริงๆแล้วเราควรตีความกฎหมายแบบใด ควรตีความตามเจตนา หรือ ตามตัวอักษร

    2.นักกฎหมายเมืองไทย มองกฎหมายในแง่มุมไหน ระหว่างเป็น เครื่องมือดำรงความยุติธรรมให้สังคม หรือ เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์

    3.อาจารย์มีความเห็นยังงัยต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่รับคดี ของ 35 สว ที่ให้พิจรณาคุณ สมบัติ กกต.

    คำตอบ

       1. เมื่อประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร การตีความก็ต้องตีตามที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่อักษรนั้นแปลได้เป็นหลายนัย ก็ต้องนึกถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นประกอบ

        2. มุมที่นักกฎหมายมองนั้น อาจไม่ใช่มีอย่างที่คุณคิด ซึ่งอาจคิดด้วยความโกรธก็ได้

        3. ในส่วนเหตุผลที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากการประชุมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๖๘ นั้น คงจะเห็นด้วยยาก  เพราะสมาชิกวุฒิสภานั้นทำงานใน ๒ ฐานะ คือในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร คือ วุฒิสภา ฐานะหนึ่ง ซึ่งจะต้องดำเนินการโดยการประชุม ซึ่งมาตรา ๑๖๘ กำหนดว่าในระหว่างรักษาการจะประชุมกันได้เฉพาะเพื่อการที่ระบุไว้ใน ๑๖๘ เท่านั้น  แต่ในอีกฐานะหนึ่ง คือ ในฐานะที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคน ซึ่งมาตรา ๑๔๙ กำหนดให้มีฐานะเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย  ซึ่งโดยฐานะดังกล่าว ย่อมมีภาระหน้าที่อื่น ๆ ที่แต่ละคนจะต้องทำ เช่น หากราษฎรเดือดร้อนอย่างไร ก็อาจจะต้องไปดูแล หรือติดตามให้ แต่ดูเหมือนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยโดยตัดฐานะนี้ออกไป จนทำให้สมาชิกวุฒิสภาทำอะไรอื่นไม่ได้เลยนอกจากมาประชุมเท่านั้น ซึ่งเป็นการแคบไป และจะกระทบกระเทือนภารกิจของสมาชิกวุฒิสภาอย่างมาก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มิถุนายน 2549