ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    017149 บทบาท อำนาจหน้าที่ของศาลสมใจ11 มิถุนายน 2549

    คำถาม
    บทบาท อำนาจหน้าที่ของศาล

    ตามรัฐธรรมนูญ ม.๑๔๕ วรรคสอง บัญญัติว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ กกต.มีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้ศาล พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การสืบสวน สอบสวน หรือวินิจฉัยชี้ขาด

    จาก กม.ข้างต้น หาก กกต.ขอให้ศาลช่วยปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องใด ศาลมีสิทธิที่จะปฏิเสธคำขอของ กกต.ได้หรือไม่ ถ้าศาลปฏิเสธคำขอของ กกต. จะถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากศาลสามารถปฏิเสธได้ เวลามีการเลือกตั้ง กกต.ขอความร่วมมือส่วนราชการต่าง ๆ ในการส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยปฏิบัติงาน หน่วยราชการ หน่วยงานก็มีสิทธิปฏิเสธได้เช่นเดียวกันใช่ไหม แล้ว กกต.จะเอากำลังคนมาจากไหนช่วยปฏิบัติงานเลือกตั้ง เพราะ กกต.ไม่มีกำลังคนของตนเองเป็นแสน ๆ มาทำหน้าที่ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง กรรมการนับคะแนนครับ

    คำตอบ

    ถ้า กกต.ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๔๕ อย่างที่ว่ามา ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องปฏิบัติตาม  แต่ต้องสังเกตให้ดีว่า การที่ กกต.จะมีอำนาจนั้น จะต้องเป็นเรื่องของการ "ปฏิบัติหน้าที่" ของ กกต. และต้องเป็นการขอให้เขาทำในสิ่งที่เขามีอำนาจและไม่เป็นการล่วงละเมิดอำนาจของเขา  เช่น กกต.จะอ้างว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ของ กกต. จะขอให้ศาลพิจารณาคดีที่ กกต.ฟ้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ กกต.กำหนด เช่นนี้ ย่อมทำไม่ได้ เพราะจะเป็นการล่วงละเมิดอำนาจและหน้าที่ของศาลที่จะต้องกระทำภายใต้กรอบเวลาและกระบวนการที่กฎหมายกำหนด

          สิ่งที่อยู่ในใจของคุณถ้าเป็นเรื่องที่ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาปฏิบัติ

    เสธไม่สรรหา กกต.ตามที่ประธานวุฒิสภาร้องขอละก็ เห็นจะเป็นคนละเรื่องกับ มาตรา ๑๔๕ ที่ว่ามา  ประการแรก เรื่องนี้ไม่ใช่ กกต.ร้องขอ (เพราะไม่ใช่หน้าที่ของ กกต.) หากแต่เป็นเรื่องที่ประธานวุฒิสภาร้องขอ ซึ่งประธานศาลฎีกาท่านก็ตอบมาตามมติของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาว่า  เมื่อมีกรณีที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะต้องคัดเลือก ท่านก็คัดเลือกของท่านเองตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องให้วุฒิสภามาสั่งหรือร้องขอ  ส่วนที่มีนักวิชาการและบางคนออกมาพูดเป็นทำนองว่าการที่ศาลปฏิเสธที่จะทำหน้าที่ของศาลเป็นเสมือนหนึ่งศาลเข้าถือฝักถือฝ่าย นั้น  อาจเป็นการนำสถาบันมาปนกัน  เพราะในกรณีของการสรรหา กกต. นั้น รัฐธรรมนูญได้สร้างองค์กรอิสระขึ้นมาใหม่อีกองค์กรหนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยได้มีคนสังเกต  กล่าวคือ ที่ประชุมใหญ่ของผู้พิพากษาศาลฎีกา  ซึ่งเป็นคนละกรณีกับศาลฎีกา  องค์กรอิสระนี้ประกอบด้วยคนที่มีอยู่แล้วในอีกองค์กรหนึ่ง คือ ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งเป็นองค์กรหนึ่ง  มาประกอบกันเป็น "ที่ประชุมใหญ่ของผู้พิพากษาศาลฎีกา"  เป็นอีกองค์กรหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะในเรื่องการสรรหา กกต. องค์กรอิสระนี้ย่อมมีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับองค์กรอิสระอื่น  และการจะปฏิบัติอย่างไรนั้นย่อมต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของที่ประชุมนั้น ผู้พิพากษาศาลฎีกาแต่ละคนหรือประธานศาลฎีกาหามีอำนาจที่จะควบคุมได้ไม่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 มิถุนายน 2549