ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    017062 หลักฐานและพยานที่ใช้สอบสวนยุบพรรคการเมืองปรีชา2 มิถุนายน 2549

    คำถาม
    หลักฐานและพยานที่ใช้สอบสวนยุบพรรคการเมือง
    กรณีที่ กกต. ได้รับหลักฐานภาพเสียงและเอกสารต่างๆ จากผู้ร้องให้ยุบพรรคการเมืองแล้ว หากมีผู้ปรากฎในหลักฐานนั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเชิญผู้ปรากฎในหลักฐานนั้นมาชี้แจง และตามบทบัญญัติของกฎหมาย กกต.สามารถดำเนินการได้หรือไม่ และแนวทางที่ควรทำเป็นอย่างไร ขอให้อาจารย์ว่าไปตามกฎหมาย ไม่ต้องไปคำนึงถึงกระแสเรียกร้องของพวกนอกกฏหมาย ประเภทไม่พอใจก็ไล่ก็ด่า เพราะเรื่องนี้มองว่าควรดำเนินการใน กกต.ชุดนี้มากกว่า ปล่อยให้เป็นภาระที่ไม่น่าสบายใจของ กกต. ชุดใหม่ ที่สำคัญเรื่องนี้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งของ กกต. ชุดนี้ อีกทั้งศาลธรรมนูญก็ต้องมีบทบาทในการตัดสินไปตามหลักฐาน เอกสารต่างๆ ที่ได้มา ว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร คงจะไปเชื่อกระแสมากไม่ได้ ดูเหมือนจะบิดเบือนไปในด้านเดียว
    คำตอบ

       หน้าที่หลักของ กกต. คือ การจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรม  เมื่อมีการกล่าวหาว่า มีการกระทำใด ๆ ที่จะส่อให้เห็นว่าจะเป็นผลทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม จึงเป็นหน้าที่ของ กกต.อยู่แล้วที่จะต้องขวนขวายสืบสวนและสอบสวนโดยเร็วเพื่อให้ได้ความกระจ่าง และดำเนินการไปตามหน้าที่  บรรดาอำนาจใด ๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ไว้แก่ กกต.นั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นการให้ไว้เพื่อไป "ทำหน้าที่" ไม่ใช่ให้มีไว้ "แสดง"  ใครจะเรียกร้อง หรือมีกระแสอย่างไร ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ตราบใดที่ กกต.ทำหน้าที่ของตนโดยสุจริต สามารถตอบแก่ใจตัวเองได้ ก็เป็นอันใช้ได้  

            ความไม่ไว้วางใจที่สังคมมีอยู่ต่อ กกต.นั้น ถ้าเป็นความไม่ไว้วางใจที่ขาดเหตุผล กกต. ก็ต้องไม่ไปคล้อยตาม แต่ถ้า ความไม่ไว้วางใจนั้นมีเหตุผล หรือเกิดจากพฤติกรรมของ กกต. เอง กกต.ก็ต้องนำกลับมาพิจารณาว่า พฤติกรรมอะไรที่ทำให้ผู้คนไม่ไว้วางใจตน  และตนจะสามารถทำความเข้าใจที่ดีให้เกิดขึ้นได้หรือไม่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 มิถุนายน 2549