ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    017054 การจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งหนุ่มรักเลือกตั้ง31 พฤษภาคม 2549

    คำถาม
    การจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

               กระผมมีปัญหาที่ขอเรียนถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนี้

              ๑.กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการออกหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อบังคับใช้ในการเลือกตั้ง เช่น กรณีการให้ใช้ตรายางในการลงคะแนนเลือกตั้ง, กรณีการนำภาพถ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งไปติดไว้ในบริเวณหน่วยเลือกตั้งหรือคูหาเลือกตั้ง เป็นต้น จะถือเป็นคำสั่งทางปกครองอย่างหนึ่งได้หรือไม่ 

             ๒. บทบัญญัติมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้กำหนดห้ามมิให้กรรมการการ   เลือกตั้ง กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร  หรือพรรคการเมืองใด หรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง หรือทางอาญา เช่นนี้ จึงอยากขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายในข้อความที่ว่า " ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งกระทำการตามหน้าที่โดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง หรือทางอาญา " มีขอบเขตในการพิจารณาเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด  อย่างไร

              ๓. กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด โดยที่ใช้คะแนนเสียงเอกฉันท์ ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ และหากภายหลังได้มีกรรมการการเลือกตั้งลาออกหรือถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา ๑๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่นนี้ กรรมการการเลือกตั้งท่านนั้นยังคงต้องผูกพันในมติคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ตนเองได้เข้าร่วมประชุมหรือไม่ อย่างไร

    คำตอบ

      1. ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง หากเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบก็ต้องไปฟ้องต่อศาลแพ่ง

      2. ถ้าสุจริตก็ได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าไม่สุจริตก็อ้างมาตราดังกล่าวมาคุ้มครองไม่ได้

       3. ต้องผูกพัน

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    31 พฤษภาคม 2549