ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    016987 กรณีการตัดสินเรื่อง "ฉีกบัตร"คนภูเก็ต24 พฤษภาคม 2549

    คำถาม
    กรณีการตัดสินเรื่อง "ฉีกบัตร"

    ก่อนอื่นต้องขอบคุณท่านอาจารย์ที่ได้ตอบข้อสงสัยของผม ทำให้ได้รับความกระจ่างพอสมควร แต่เมื่อผมได้รับทราบข่าวการตัดสินของศาลจังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง เกี่ยวกับคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง ซึ่งศาลสั่งให้ยกฟ้อง โดยอ้างความเป็นโมฆะของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินมาเป็นประเด็นในการยกฟ้อง เรื่องดังกล่าวนี้จึงมีนัยยะสำคัญที่อาจทำให้เป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อบ้านเมืองต่อไป ผมจึงขอสอบถามข้อสงสัยดังนี้

    1. "การฉีกบัตรเลือกตั้ง" นอกเหนือจะเป็นความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งแล้วนั้น ยังเป็นความผิดทางอาญาด้วยใช่หรือไม่ มาตราใด ?

    2. การยกเอาคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นข้ออ้างในการยกฟ้องของศาลเป็นการสมควรหรือไม่ ? เนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญานั้นถือว่ามีความผิดสมบูรณ์แล้วใช่หรือไม่ ?

    3. มีช่องทางใดบ้างที่จะทำให้ประชาชนธรรมดาร้องคัดค้านหรืออุทธรณ์กรณีดังกล่าว หากทางอัยการไม่ยอมอุทธรณ์คดี ?

    4. หากต่อไปภายหน้าจะมีการฉีกบัตรหรืออะไรกันอีก จะสามารถยกเอาการพิจารณาของศาลครั้งนี้มาเป็นบรรทัดฐานได้หรือไม่

    5. ประเด็นสำคัญของการพิจารณาของศาลทำไมไม่ยกประเด็นของการจงใจ การเตรียมการ หรือการแสดงเจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา มาประกอบในการพิจารณา ซึ่งน่าจะมีน้ำหนักกว่าที่จะมาพิจารณาเพียงแค่ความเป็นโมฆะของการเลือกตั้ง

    ผมขอรบกวนเวลาอันมีค่าของอาจารย์เพียงเท่านี้ ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าครับ

    คำตอบ

      1.  เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นความผิดไว้เป็นพิเศษแล้ว ก็ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายทั่วไปอีก

       2. เมื่อศาลตัดสินแล้วจะไปบอกว่าสมควรหรือไม่สมควรได้อย่างไรล่ะ

       3. ไม่มี เพราะไม่ใช่คู่ความจึงอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้

       4. ก็ต้องเสี่ยงดวงเอาเองว่า การเลือกตั้งครั้งนั้นจะถูกศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนอีกหรือไม่

        5. เห็นจะต้องถามกับผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีเองกระมัง

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 พฤษภาคม 2549