ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052864 บุตรบุญธรรมมินตรา28 พฤษภาคม 2561

    คำถาม
    บุตรบุญธรรม
    กราบเรียนอาจารย์ค่ะ

    1. ในกรณีที่พ่อแม่บุญธรรมจดทะเบียนหย่า สิทธิของความเป็นลูกบุญธรรมยังคงอยู่เหมือนเดิมหรือไม่คะ ถ้ายังไม่ได้มีการจดทะเบียนยกเลิก

    2. พี่สาวและสามี ไม่มีลูก จึงจดทะเบียนรับหลานมาเป็นลูกบุญธรรม เพื่อลดหย่อนภาษีและสิทธิ์ต่างๆ โดยที่เด็กก็ยังคงอยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริง และครอบครัวที่แท้จริงค่อนข้างมีฐานะ เด็กไม่เคยใช้ชีวิตร่วมกับพ่อแม่บุญธรรมนอกจากไปมาหาสู่ ต่อมาพ่อแม่บุญธรรมจดทะเบียนหย่าแต่เด็กยังคงใช้นามสกุลพ่อบุญธรรม หลังจากนั้นแม่บุญธรรม(ป้า) เสียชีวิตลง อยากทราบว่า ญาติ(พี่น้องของแม่บุญธรรม) มีสิทธิ์ที่จะคัดค้านการรับมรดกของเด็กหรือไม่อย่างไรคะ
    กราบขอบพระคุณมา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ
    มินตรา
    คำตอบ

    1. ในกรณีที่ทั้งสองคนเป็นผู้จัดทะเบียนรับคุณเป็นบุตรบุญธรรมของทั้งสองคน ถึงเขาจะหย่ากัน คุณก็ยังเป็นบุตรบุญธรรมของทั้งสองคนอยู่

    2. ไม่มี  เว้นแต่เขาจะพิสูจน์ได้ว่า การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมิได้มีเจตนาจริง ๆ หากแต่เพื่อการฉ้อฉลภาษี


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 พฤษภาคม 2561