ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052807 การปล่อยปละละเลยทำให้เกิดปัญหาคนในป่าสงวน4 เมษายน 2561

    คำถาม
    การปล่อยปละละเลยทำให้เกิดปัญหา
    ในพื้นที่ดินในเขตพื้นที่ทภ.3ขอใช้ประโยชน์ต่อกรมป่าไม้ ท้องที่ตำบลเขาค้อ,สะเดาะพง,ริมสีม่วงและหนองแม่นา

    ข้อเท็จจริง 
    1.ประชาชนเข้ามาอยู่ในพื้นที่เขาค้อก่อนปี 2510 ทางการประกาศเป็นป่าตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 เมื่อปลายปี พ.ศ.2508
    2.ประกาศเป็นป่าไม้ถาวรแห่งชาติ เมื่อ 18 มกราคม 2509 โดยมติคณะรัฐมนตรี
    3.ปี พ.ศ.2511 เริ่มเกิดการสู้รบกับพรรคคอมมิวนิสต์ในสมรภูมิเขาค้อ และก่อสร้างเส้นทางตามยุทธ์ศาตร์ในปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา
    4.คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินบางส่วนของเขาค้อเพื่อสร้างทาง 
    5.กรมป่าไม้อนุญาตให้กรมทางหลวงและกอ.รมน.เขต 3 ใช้พื้นที่ 1.2 แสนไร่ ในป่าหมายเลข 22 และให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข 10 ข้อ โดยมีสาระที่สำคัญในข้อ  ดังนี้
    (1).........................
    (9) เนื่องจากบริเวณที่ได้รับอนุญาตเป็นป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ เมื่อบริเวณดังกล่าวประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเมื่อใด และผู้รับอนุญาตยังมีความประสงค์ที่จะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการสร้างทาง หรือจัดที่ดินให้ประชาชนเข้าทำกินและอยู่อาศัยอยู่อีกผู้รับอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเข้าทำการประโยชน์ต่อกรมป่าไม้อีกครั้งหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ทันที
         6.ประกาศเขตป่าสงวนเขาปางก่อ และป่าวังชมภู เมื่อ 10 พ.ย.2529 
         7.ในวันที่ 22 ธันวาคม 2546 ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน จ.เพชรบูรณ์ มีหนังสือประกาศแจกโฉนดที่ดินแก่ชาวบ้าน หมู่ 8,10,12 และ 13 ต.เขาค้อ อ.เขาค้อ จำนวน 44 รายแต่ถูกยกเลิกไปโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
        9.ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีการจับกุมผู้บุกรุกที่ขึ้นมาอยู่ใหม่ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียน
        10.ในปี พ.ศ.2556 สภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ 4 ตำบลในเขตป่าสงวนฯ ได้รับงบประมาณจากกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ (ผ่าน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) ในโครงการแก้ไขปัญหาที่ดิน โดยการสำรวจพื้นที่ จับ GPS รายแปลงเพื่อเสนอการแก้ไขปัญหาฯ ต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ
    11.ผู้ว่าราชการแต่งตั้งคณะทำงานสำรวจพื้นที่ฯ (ตามคำสั่งที่ 2571/2557 ลว.30 ก.ย.57)
    12.สภาองค์กรชุมชน 4 ตำบลยื่นข้อเสนอการแก้ไขปัญหาที่ดินโดยการขอใช้ตามมาตรา 16 ฯ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.58 ต่อนายอำเภอเขาค้อ และต่อผอ.ทสจ.เพชรบูรณ์ ในวันที่ 2 มิถุนายน 2558
    13.ผู้ว่าราชการ จ.เพชรบูรณ์ ส่งคืนพื้นที่ที่ขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ต่อ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อ 2 มิ.ย.58
    14. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนฯ ได้ติดตามทวงถามที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี เมื่อ 22 มกราคม 2559 ต่อมามีหนังสือตอบกลับที่ นร.0105.04/45384 ลว.26 มิ.ย.60 ความว่า “ได้ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี และส่งเรื่องให้กองทัพภาคที่ 3 พิจารณาด้วยแล้ว”
    15. อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานในการประชุม พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สรุปสาระสำคัญดังนี้
    15.1 กรมป่าไม้ยินดีรับคืนพื้นที่ ทภ.3 ขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ ท้องที่ อ.เขาค้อ
    จว.พช.ทั้งหมด
    15.2 ให้ดำเนินคดีต่อผู้บุกรุกทุกรายโดยไม่มีข้อยกเว้น 
    15.3 ต้องดูแลผู้กระทำที่ถูกต้อง
    - ราษฏร์ที่กระทำถูกต้อง จะต้องได้รับสิทธิ์ในที่ดินต่อไป
    - พื้นที่หน่วยราชการ และหน่วยงานของรัฐ 83 แห่งให้ขออนุญาตโดยตรงต่อกรมป่าไม้ (โดยจะจัดส่งจนท.ลงมาให้คำแนะนำ) ให้แล้วเสร็จภายใน กันยายน 2560

    คำถาม เพื่อขอคำแนะนำ
     (ตามที่ท่านพอจะตอบได้ เพื่อการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน)

      ทภ.3 พาราษฏรอาสาสมัครขึ้นมาอยู่เป็นแนวกันชนและตอบแทนการสู้รบ ควบคุมโดยระเบียบข้อบังคับรอส.ปี 2521 
    -ในสภาพปัจจุบันพื้นที่เปลี่ยนไป รอส.มีความจำเป็นที่จะต้องขายที่ดินที่กองทัพจัดให้เพื่อชดใช้หนี้สิน ภาระที่ต้องดูแลครอบครัว ตลอดจนส่งบุตรหลานให้เข้ารับการศึกษา 
    -สภาพป่าเขาค้อหมดไปแล้วตั้งแต่เกิดการสู้รบ การก่อสร้างสร้างทำทาง และตัดไม้ในพื้นที่มาสร้างบ้านพักให้รอส.จำนวนหมู่บ้านละ 50 หลังคาเรือน ตลอดจนมีการขนไม้ลงจากเขาค้อไปเป็นจำนวนมาก  
    - การจับกุมผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่ในข้อหาบุกรุก ก่นสร้าง แผ้วถาง ครอบครองที่ดินในป่าสงวนฯ นั้นเป็นธรรมหรือไม่ ?   ที่นับแต่มีการก่อสร้างของผู้ที่ทำผิดกฎของโครงการฯ ก็มิได้มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานใดที่เข้ามาห้ามการก่อสร้างเลย ปล่อยให้ดำเนินการก่อสร้างมานับสิบๆ ปี ประกอบกับมีน้ำ ไฟฟ้า ซ้ำทางราชการยังยืนยันและรับรองความถูกต้องว่าอยู่ในพื้นที่นี้ได้โดยการออกบ้านเลขที่ให้มาตั้งแต่ช้านานแล้ว และยังมีภาครัฐที่เข้ามาส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวในหลากหลายโครงการฯ ให้กับพื้นที่นี้เป็นความผิดของประชาชนหรือ ?
    - การสำรวจการครอบครองที่ทางการดำเนินการไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ข้อมูลถูกต้องเพียงไร หรือไม่ ? จากการสำรวจโดยภาคประชาชน อันมีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สอบต. ที่ทางอำเภอแต่งตั้ง พบว่าคลาดเคลื่อนจากความจริงเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้งประชาชนที่มาอยู่ใหม่และรอส.เกรงว่าจะผิดกฏหมายและถูกปลดจากสมาชิกรอส. (ทั้งที่ไม่มีผลบังคับใช้ทางกฏหมายเนื่องจาก พ.ร.บ.การกระทำอันเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ถูกยกเลิกไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543)
    - ทภ.3 ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงฯ ที่ได้ทำไว้กับกรมป่าไม้ทั้ง 10 ข้อ ครบถ้วนหรือไม่ ? เอาในเฉพาะข้อที่มีสาระที่สำคัญ เช่น ได้ปักป้ายบอกเขต ฯลฯ หรือไม่ ? หรือแม้แต่ข้อ (9) ได้ไปขออนุญาตใช้พื้นที่กับกรมป่าไม้ใหม่(ตามกำหนด/ตรวจสอบแล้วคือไม่มี) หรือไม่ ? เมื่อมีการประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ                                         
    - การที่กรมป่าไม้ให้หน่วยงาน 83 แห่ง ขอใช้พื้นที่ให้ถูกต้องก่อนที่จะไปจับประชาชนเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ ? ทั้งที่ประชาชนได้ขอใช้ประโยชน์ตามระเบียบของกรมป่าไม้เกือบ 3 ปีมาแล้ว กลับไม่มีคำตอบ ? ใช้กฎหมาย ใช้ระเบียบฯ ฉบับเดียวกันโดยความเสมอภาคหรือไม่ ? 
    - การปฏิบัติตามที่ประชุมฯ ( 6 ก.ย.60) กับการที่จะเริ่มปฏิบัติการฯมาแล้วนั้นเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฏหมาย ถูกต้องหรือไม่ ? ที่ใช้โทรศัพท์แจ้งล่วงหน้าในวันสองวัน ? ไม่มีการอธิบายให้ชัดเจนและไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนซักถามเลย จนชาวบ้านต้องเดินหนีลุกออกจากที่ประชุมไปด้วยความไม่เข้าใจเจ้าหน้าที่รัฐ (มีคลิปเป็นหลักฐานยืนยัน) 
    - ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีขบวนการเรียกร้องหาผลประโยชน์จากผู้ต้องหาเมื่อเกิดคดีมากมาย แม้กระทั่งผู้ที่กำลังจะต้องคดีวิ่งเต้นทุกวิถีทางเพื่อให้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาบุกรุกฯ  

    สรุปโดยข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ทั้งหมดไม่พบว่าประชาชนบุกรุกที่ใหม่แต่ไประการใด อีกทั้งยังมีการทำประชาคมในระดับหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ระดับ 4 ตำบลทุกตำบล ถึง 2 ครั้ง มีเอกสารลงนามโดยผู้ครอบครองที่แท้จริง ที่รับรองการทำประชาคมที่ลงนามโดยผู้ใหญ่บ้าน/กำนันแล้ว
    และ เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตลอดจนการลดข้อขัดแย้งโดยสันติวิธีระหว่างหน่วยงานรัฐและประชาชนในพื้นที่ที่จะต้องฟ้องร้องต่อกันทั้งสองฝ่ายในอนาคต ความเสียหายต่อพื้นที่ ต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ และประเทศชาติในที่สุด
    ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าโซน C อีกทั้งยังเป็นลุ่มน้ำ 3-4 มิใช่ลุ่มน้ำ 1-2 เหมือนจังหวัดน่าน และแม่ฮ่องสอน ที่รัฐมีนโยบายแก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้
    จึงขอเสนอให้หน่วยงานรัฐทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบในพื้นที่ ได้โปรดลงมาช่วยกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนตามนโยบายแห่งรัฐ ให้คนอยู่กับป่า ปลูกป่าในใจคน โดยให้คนในพื้นที่ช่วยกันพัฒนาพื้นที่ตามแนวศาสตร์พระราชา และปฏิบัติตามระเบียบของกรมป่าไม้ จะเป็นที่ราชพัสดุ สปก. หรือเขตพื้นที่พิเศษ อื่นใด ตามที่ผู้มีอำนาจจะสั่งการ อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นพื้นที่ป่าโซน C ทั้งยังเป็นลุ่มน้ำ 3-4 มิใช่ลุ่มน้ำ 1-2 เหมือนจังหวัดน่าน และแม่ฮ่องสอน ที่ภาครัฐกำลังแก้ไขให้กับประชาชนอยู่กับป่าได้ในขณะนี้
    เพื่อโปรดพิจารณา คืนความสุขให้กับประชาชนเขาค้อที่จักได้อยู่และทำมาหากินอย่างปกติสุขตลอดไป
       

    คำตอบ
    คำบอกเล่า และ คำถาม ปน ๆ กันอยู่ โดยไม่ใส่เลขที่ ปกติก็จะตอบเรียงกัน ตามคำถาม แต่เรื่องนี้ยาว และถ้าตอบเรียงกันก็คงอ่านไม่รู้ว่าอันไหนตอบคำถามไหน ลองแยกคำถามเป็นข้อ ๆ แล้วถามมาใหม่ จะได้ตอบได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 เมษายน 2561