ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052604 ค้ำประกันเงินกู้ยืม ที่ถูกต้อง ที่สามารถฟ้องร้องได้SUPANNEE28 สิงหาคม 2560

    คำถาม
    ค้ำประกันเงินกู้ยืม ที่ถูกต้อง ที่สามารถฟ้องร้องได้
    เรียน อาจารย์มีชัยและท่านผู้รู้ค่่่ะ

    ดิฉัน ได้ให้ลูกน้องกู้ยืมเงินไปจำนวนสองแสนสี่หมื่นบาทเพื่อไปชำระหนี้นอกระบบร้อยละ 10   แต่ปรากฏว่าตอนนี้ลูกน้องคนนี้ได้ออกจากงานโดยไม่กลับมาทำงานอีกเลย  
    ทั้งนีั้ในเอกสารกู้ยืมเงิน  ระบุตัวเลข และตัวหนังสือกำกับชัดเจน และกำหนดดอกเบี้ยร้อยละ 15บาทต่อปี      ประเด็นที่จะถามอยู่ตรงนี้ค่ะคือ

    ตอนท้ายสัญญา  ดิฉันได้ระบุว่า  การกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวนี้ มีผู้ค้ำประกัน 2 คนคือ
    นาย....... และนาย..............

      ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม    ลงชื่อผู้ให้ยืม   แล้วลงชื่อผู้ค้ำประกัน (คนที่1)
    และลงชื่อ คนค้ำประกัน (คนที่2)   ตัวอย่างที่ทำสัญญา

    ลงชื่อ..................(ผู้กู้)                    ลงชื่อ ..............(ผู้ให้กู้)
          (                   )                                (                )

    ลงชื่อ...................(ผู้ค้ำประกัน)         ลงชื่อ...............(ผู้ค้ำประกัน)
           (                   )                                (                )


    ประเด็นคือ  ดิฉันไม่ได้ทำเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันแยกออกมาอีกค่ะ    คือทำแค่รายละเอียดดังข้างต้น    ดิฉันจึงอยากเรียนถามว่าการที่ไม่ได้ทำหนังสือค้ำประกันแยกระบุความรับผิดชอบนี้   ผู้่ค้ำประกันทั้ง 2 คนที่เซ็นชื่อ และสำเนาเอกสารบัตรประชาชน และสำเนาใบทะเบียนบ้านไว้ให้นี้     ใช้ได้หรือไม่  คือมีผลตามกฏหมายว่าเป็นผู้ค้ำประกันเงินจำนวนดังกล่าวนี้หรือไม่  เพราะมีบางคนเขาแย้งว่าไม่มีผล เป็นโมฆะ  คือผูํ้ค้ำประกันนี้ไม่มีผลตามกฏหมาย มีได้แค่เป็นพยาน   

    รบกวนตอบดิฉันด้วยนะค่ะ  ดิฉันเครียดมากค่ะ  เพราะเงินสองแสนสี่เยอะมาสำหรับดิฉัน
    แต่ให้เขาไปด้วยความสงสาร เห็นใจค่ะ  ขอบพระคุณมากค่ะ  ช่วยชี้นำด้วยค่ะ



    คำตอบ
    การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะผูกพันผู้ค้ำประกัน  แต่หลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาต่างหาก หากหลักฐานนั้นบ่งชี้ว่าเขาผูกพันตนเข้ามาเป็นผู้ค้ำประกัน ก็ใช้ได้  ควรปรึกษาทนายความเขาจะได้ดูรายละเอียดในสัญญากู้และแนะนำได้ถูกต้อง
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 สิงหาคม 2560