ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052488 การพิจารณาร่าง พรป. ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้น31 พฤษภาคม 2560

    คำถาม
    การพิจารณาร่าง พรป. ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

    ผมกำลังศึกษาแนวทางการพิจารณาร่าง พรป. ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครับ แต่มีบางประเด็นที่น่าสนใจและอยากทราบเจตนารมณ์จึงรบกวนสอบถามท่านอาจารย์ครับ

    1. ตาม รธน. มาตรา 132 ที่กำหนดให้ ร่าง พรป. กระทำเช่นเดียวกับ พรบ. ซึ่งอาจเกิดประเด็นการตีความได้ว่าจะตีความแบบไหน เนื่องจากมาตรา 132 ไม่ได้ระบุว่าให้นำมาใช้โดย “อนุโลม” เช่น เรื่องการพิจารณาร่างเกี่ยวด้วยการเงิน

      แบบแรก ถ้าตีความแบบเดินตามมาตราต่าง ๆ ของการพิจารณาร่าง พรบ. การพิจารณาเกี่ยวด้วยการเงินก็จะต้องให้ประธานรัฐสภาส่งร่างดังกล่าวไปให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการ (ประชุมร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะ) และให้นายกรับรองแล้วจึงส่งกลับมาที่รัฐสภาเพื่อพิจารณา

      แบบสอง แต่ถ้าตีความแบบที่สองคือ ในเมื่อ ร่าง พรป. เสนอสู่รัฐสภาแล้ว จึงต้องตีความว่า การกระทำเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ คือ การเอาเฉพาะแนวทางการพิจารณาของพระราชบัญญัติมาแต่ผู้กระทำก็คือรัฐสภา เช่น การพิจารณาเกี่ยวด้วยการเงินก็ให้รัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยเลย โดยประธานรัฐสภาประชุมร่วมกันประธานกรรมาธิการสามัญทุกคณะของ ส.ส. และประธานกรรมาธิการสามัญทุกคณะของ ส.ว. ด้วย

     

    ไม่ทราบว่า จะตีความแนวทางไหนครับอาจารย์

     

    2. สืบเนื่องจากข้อ 1 ในเมื่อ ร่าง พรป. เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งมี ส.ว. รวมอยู่ด้วย ดังนั้น ส.ว. จะสามารถ “ทักท้วง” ว่าร่าง พรป. ที่เสนอมาเป็นร่างเกี่ยวด้วยการเงินไหมครับ เพราะในมาตราต่าง ๆ ของการพิจารณา ร่าง พรบ. กำหนดแต่เฉพาะ ส.ส. (เนื่องจากเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น) แต่ ร่าง พรป. พิจารณาโดยรัฐสภาซึ่งมี ส.ว ด้วย แบบนี้ ส.ว. จะทักท้วงได้ไหมครับ

     

    3. เรื่องการนับระยะเวลาในการพิจารณาร่าง พรป. ที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน เนื่องจาก มาตรา 132 (1) ใช้ถ้อยคำว่า “ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พรป. ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน” ผมจึงคิดว่าในกรณีอื่นๆ เช่น ร่าง พรบ. จะเริ่มนับตั้งแต่ผู้เสนอยื่นเรื่องและสำนักงานลงรับ ก็จะเริ่มนับเลย แต่กรณีของ ร่าง พรป. จะเริ่มนับตั้งแต่สำนักงานลงรับ หรือ นับตั้งแต่วันที่ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณาครับ ที่ถามแบบนี้เพราะเข้าใจว่าในทางปฏิบัติหากเริ่มจากสำนักงานลงรับ บางครั้งมีการแก้ไข มีข้อบกพร่อง ก็อาจทำให้เสียเวลาในการพิจารณาไปมากพอสมควร อีกทั้ง รธน. ใช้ถ้อยคำว่า “ให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พรป. ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน” ผมจึงไม่แน่ใจว่าผู้ร่างมีความประสงค์ให้เริ่มนับ 180 วันตั้งแต่สำนักงานลงรับหรือวันที่ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าพิจารณาครับ

     

    ขอบพระคุณอาจารย์มากครับผม

    คำตอบ
    ถ้าจะศึกษา ก็ต้องอ่านให้ตลอด อ่านเพียงบางมาตราไม่ได้หรอก คำถามของคุณเกิดขึ้น เพราะคุณอ่านไปไม่ถึง มาตรา ๒๖๗ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติเรื่องการพิจารณาร่าง พรป.ในวาระเริ่มแรกไว้เป็นการเฉพาะ ลองไปอ่านดู แล้วอาจจะเข้าใจดีขึ้น
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    31 พฤษภาคม 2560