ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051539 คลื่นความถี่เป็นคำที่ไม่ควรใช้อาจณรงค์ ฐานสันโดษ15 มกราคม 2559

    คำถาม
    คลื่นความถี่เป็นคำที่ไม่ควรใช้
    เรียนท่านอาจารย์มีชัย

    “คลื่นความถี่” เป็นคำที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในสื่อมวลชนและบทความออนไลน์ อีกทั้งยังเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามคำนี้ไม่มีความหมายในทางวิชาการ
    มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ได้ให้คำนิยามคลื่นความถี่ไว้ดังนี้ 
    “คลื่นความถี่” หมายความว่า คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเซียน ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่าง โดยปราศจากสื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น
    โดยนัยของคำนิยามข้างต้น คลื่นความถี่หมายถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายชัดเจนในทางวิชาการ ดังนั้นถ้าจะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับคำศัพท์ทางเทคนิคในภาษาอังกฤษ เราควรใช้คำว่า “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ” (Radiofrequency electromagnetic wave) หรือ “คลื่นวิทยุ” (Radio wave) แทน “คลื่นความถี่”
    อย่างไรก็ตามหากนำไปใช้ร่วมกับคำอื่น ความหมายของคลื่นความถี่ก็อาจจะเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น “ตารางกำหนดคลื่นความถี่” และ “จัดสรรคลื่นความถี่” ซึ่งมีคำนิยามตามที่ระบุไว้ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังนี้
    “ตารางกำหนดคลื่นความถี่” หมายความว่า การกำหนดย่านความถี่วิทยุของวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุคมนาคม โทรคมนาคม และการอื่นเพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด
    “จัดสรรคลื่นความถี่” หมายความว่า การอนุญาตให้สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุคมนาคม ใช้ความถี่วิทยุหรือช่องความถี่วิทยุตามตารางกำหนดคลื่นความถี่หรือแผนความถี่วิทยุเพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด
    โดยนัยของคำนิยามทั้งสอง คลื่นความถี่ในที่นี้หมายถึง ความถี่ (Frequency) หรือความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายในทางวิชาการ ดังนั้นถ้าจะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับคำศัพท์ทางเทคนิคในภาษาอังกฤษ เราควรใช้คำว่า “ตารางกำหนดความถี่” (Table of frequency allocations) และ “จัดสรรความถี่” (Frequency assignment) แทน “ตารางกำหนดคลื่นความถี่” และ “จัดสรรคลื่นความถี่” ตามลำดับ
    สรุปความก็คือ คำว่า “คลื่นความถี่” ไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมคำศัพท์ทางเทคนิค ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงการใช้คำนี้ในทุกโอกาสและทุกกรณีเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน  ในบริบทที่เกี่ยวกับวิทยุคมนาคม คำว่า “คลื่น” หมายถึง “คลื่นวิทยุ” และคำว่า “ความถี่” หมายถึง “ความถี่วิทยุ”    
    ขออนุญาตเน้นยํํ้าอีกครัั้งหนึ่งว่า คำศัพท์ “คลื่นความถี่” ซึ่งเป็นคำที่ไม่ถูกต้องและยังเป็นคำที่ไม่มีความหมายทางเทคนิค เพราะถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงตัวก็จะได้คำว่า “Frequency wave” ซึ่งเท่าทีทราบไม่มีที่ไหนในโลกใช้กัน คำที่ดีกว่าและถูกต้องทางเทคนิคคือ “คลื่นวิทยุ” (Radio wave) หรือถ้าจะให้ดีและชัดเจนกว่านั้นก็คือ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” (Electromagnetic wave) หรือใช้คำขยายจำเพาะเจาะจงลงไปเป็น “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ” (Radiofrequency electromagnetic wave)
    เมื่อพิจารณาตามข้อเท็จจริง รัฐ (โดย กสทช.) มีหน้าที่จัดสรรความถี่ (ไม่ใช่จัดสรรคลื่น)
    จึงเรียนมาเพื่่อให้ท่านพิจารณา ตัวกระผมไม่อยากเห็นคำว่า “คลื่นความถี่” ไปปรากฏในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติหรือกฎหมายใด ๆ หรือคำให้สัมภาษณ์ของผู้มีอำนาจหน้าทีี่ เพราะจะสร้างความสับสนให้สังคม นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่กำลังเจริญเติบโต หากปล่อยไว้นานไป ก็จะกลายเป็นเรื่องที่แก้ไขยาก

    ด้วยความเคารพนับถือ 

                 นายอาจณรงค์  ฐานสันโดษ
                                                 Scientist Emeritus, Health Canada
                                        (นักวิทยาศาสตร์กิตติคุณ กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา)
                                                   Email: artnarongwork@gmail.com
                      บทสัมภาษณ์: http://ostc.thaiembdc.org/13th/blog/archives/153
    คำตอบ
    บังเอิญมีการใช้คำนี้ในรัฐธรรมนูญ จนเป็นที่เข้าใจแล้ว หากไปเปลี่ยนเข้า คนก็จะหาว่าตั้งใจจะให้มีความหมายไปอย่างอื่น  มีคำเป็นจำนวนมากที่ไม่ถูกต้อง แต่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการสนองความต้องการของตนแล้ว หรือตรงตามที่ตัวเคยเขียนคำอธิบายแล้ว หากไปเปลี่ยนเข้าก็มักจะเกิดปัญหา เพราะจะอธิบายอย่างไร ก็ไม่ยอมเข้าใจ 
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 มกราคม 2559