ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050521 แบ่งแยกโฉนดที่ดินพร้อมบ้านปรีชา3 มีนาคม 2558

    คำถาม
    แบ่งแยกโฉนดที่ดินพร้อมบ้าน
    กระผมขอรบกวนอาจารย์อีกสักครั้ง ด้วยกระผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่มีบ้านตั้งอยู่บนที่ดินนั้นด้วย ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสินสมรส ระหว่าง พ่อและแม่ของกระผม ที่จดทะเบียนสมรสกันมาตั้งแตปี 2506 และต่อมาในในปี 2524 คุณพ่อได้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุอย่างกระทันหัน  โดยระหว่างนั้นที่ดินแปลงดังกล่าวยังเป็นที่ดิน นค. อยู่ และแม่ได้นำที่ดินไปออกเป็น นส.3 ก เพ่อที่จะออกเป็นโฉนด โดยได้ใส่ชื่อแม่ของกระผม ชื่อกระผม และชื่อน้องสาว รวมแล้ว 3 คน เรียงตามลำดับ ถ้าหากกระผมมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินสักหนึ่งก้อนกระผมสามารถที่จะนำโฉนดฉบับนี้ไปจำนองในส่วนของกระผมจะได้ไหมครับ? แต่ถ้าหากแม่กับน้องสาวของกระผมไม่ยินยอมกระผมจะขอแบ่งแยกโฉนดออกมาเป็นสัดส่วนได้ไหมครับ? เนื่องจากน้องสาวอยู่กับแม่ในบ้านหลังนี้ด้วย ส่วนกระผมทำงานอยู่ต่างจังหวัด ผมเกรงว่าแม่จะถูกครอบงำโดยน้องสาว เพราะท่านมีอายุมากแล้ว 76 ปี (บ้านหลังดังกล่าวที่ตั้งอยู่บที่ดินพิพาทปลูกสร้างมาตั้งแต่พ่อยังมีชีวิตอยู่) โดยน้องสาวมักจะเอาแม่มาอ้างเสมอเมื่อผมจะนำโฉนดดังกล่าวไปใช้ประโยชน์บ้างเพื่อบบรรเทาความเดือดร้อนในส่วนของกระผม ๆ ขอรบกวนอาจารย์ช่วยกรุณาไขข้อข้องใจและให้ความกระจ่างต่อผู้ด้อยความรู้ทางด้านนี้ด้วยครับ
    คำตอบ

    ในเมื่อคุณเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินนั้น คุณจะขอให้แบ่งแยกก็ย่อมทำได้ เพียงแต่ตกลงกันให้ได้ว่าส่วนของใครอยู่ตรงไหน แล้วก็ไปแยกโฉนดเสีย  เมื่อคุณจะขายก็จะได้ขายได้ หรือมิฉะนั้นก็ขายส่วนของคุณให้น้องสาวเสีย ก็จะได้หมดปัญหาไป

         คุณอาจจะรู้สึกอึดอัดใจที่ไม่สามารถนำที่ดินไปจำนองเอาเงินมาใช้ได้ เพราะมีน้องสาวขัดขวางอยู่  ถ้าคุณลองย้อนกลับไปคิดอีกแง่หนึ่ง ว่าถ้าน้องสาวไม่คอยขวางไว้ คุณก็คงได้นำส่วนของคุณไปจำนองไปนานแล้ว และถึงบัดนี้หนี้ที่ไปก่อขึ้นก็คงสร้างดอกเบี้ยจนอาจท่วมท้นเกินราคาที่ดินไปแล้วก็ได้   ร้อยละ ๙๐ ของคนที่เอาที่ดินไปจำนองแก้ขัด ไม่มีเคยกลับมีเงินมาไถ่จำนองได้ ส่วนใหญ่เสียที่ดินไปแล้วยังเป็นหนี้อีก


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 มีนาคม 2558