ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050372 มหาวิทยาลัยสามารถออกข้อบังคับขัดกับพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฯได้หรือไมสุชาติ ศรีแก้ว19 พฤศจิกายน 2557

    คำถาม
    มหาวิทยาลัยสามารถออกข้อบังคับขัดกับพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฯได้หรือไม

    พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547


    มาตรา 18 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีดังต่อไปนี้
    (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่
    (1) อธิการบดี
       (2) รองอธิการบดี
    (3) คณบดี
    (4) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    (5) ผู้ช่วยอธิการบดี
    (6) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    (7) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ตามที่ก.พ.อ.กำหนด
    (8) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด


    ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำและข้าราชการ พ.ศ.​ 2557


    ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้
    "ผู้บริหาร" หมายความว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย หรือหัวหน้าส่วนราชการอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ


    ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ว่าด้วยสภาคณาจารย์และข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
    ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้
    "ผู้บริหาร" หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่ดำรงตำแหน่ง
    (1) อธิการบดี
    (2) รองอธิการบดี
    (3) คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    (4) รองคณบดี รองผุ้อำนวยการสถาบัน รองผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือรองหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    (5) ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือภาควิชา
    (6) ผู้บริหารในส่วนราชการที่ถูกกำหนดไว้ในกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

     


    ขอเรียนถามดังต่อไปนี้
    1. พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มิได้นิยามความหมายคำว่า "ผู้บริหาร" ไว้  มหาวิทยาลัยฯสามารถกำหนดคำจำกัดความ ความหมาย ของ "ผู้บริหาร" ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำและข้ราราชการ พ.ศ. 2557 แตกต่างไปจาก "ผู้บริหาร" ใน พรบ.ระเบียบข้าราราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 โดยตัดตำแหน่งบางตำแหน่งออกไป เช่น ผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการกอง ฯลฯ ได้หรือไม่  ทั้งๆที่ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ว่าด้วยสภาคณาจารย์และข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ก็ได้ให้นิยามความหมายคำว่า "ผู้บริหาร" ไว้เหมือนกับ พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 


    เนื่องจากการกำหนดคำนิยาม "ผู้บริหาร"ที่แตกต่างไปจากพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 เอื้อให้ผู้บริหารบางคน บางตำแหน่งสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งและลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำและข้าราชการ อันมีส่วนได้เสียโดยตรงในการเลือกผู้บริหารมหาวิทยาลัยเช่น อธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ฯลฯในสภามหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา


    2. หากการกระทำดังกล่าว ไม่สามารถทำได้ ข้อบังคับนี้จะมีผลเป็นโมฆะหรือไม่


    3. หากข้อบังคับนี้เป็นโมฆะ การณ์ใดๆที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการดำรงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งตามข้อบังคับดังกล่าว จะถือว่าเป็นโมฆะด้วยหรือไม่

    คำตอบ
    ข้อบังคับแต่ละฉบับย่อมมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน การกำหนดคำนิยามคำใดไว้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อบังคับนั้นๆ  ถามมารวม ๆ ว่ากำหนดได้หรือไม่ จึงตอบให้เด็ดขาดไปไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าข้อบังคับที่ว่าด้วยการสรรหาฯ กำหนดนิยามคำว่าผู้บริหารไว้ เพื่อการใด
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 พฤศจิกายน 2557