ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050319 ทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบนายพงษ์ศักดิ์ จันทร์ศิริไพบูลณ์15 กันยายน 2557

    คำถาม
    ทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ

    เรียน อ.มีชัย ฤชุพันธุ์

           ขอเรียนถามเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปฯ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๗ นัยมาตรา ๘(๕) ว่าเคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ นั้น มีความหมายครอลคลุมเพียงใด และในกรณีต่อไปนี้ เข้าข่ายหรือไม่

         กรณีที่ ๑ อดีตข้าราชการครู กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกไล่ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำชำเราเด็กนักเรียนในปกครองดูแล และเป็นศิษย์ของตนเองจนเกิดตั้งครรภ์ เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม หรือไม่

         กรณีที่ ๒ อดีตข้าราชการตำรวจ กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกไล่ออกจากราชการ เนื่องจาก ขณะปฏิบัติหน้าที่สิบเวรฯ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม และดูแลผู้ต้องหา ยินยอมให้เจ้าหน้าที่คนอื่นมาเบิกตัวผู้ต้องหา(ในเวลากลางคืน) เพื่ิิอนำไปสอบสวนขยายผล และนำกลับมาส่ว แต่พอรุ่งเช้า ปรากฎว่าผู้ต้องหาคนดังกล่าวถึงแก่ความตาย โดยมีร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย ในกรณีนี้ เข้าข่ายลักษณะต้องห้าม หรือไม่

          ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัว เห็นว่า กรณีที่ ๑ เป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน น่าจะเข้าข่ายประพฤติมิชอบ ส่วนกรณีที่ ๒ เป็นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ ในตำแหน่งหน้าที่ แต่ไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่เข้าข่ายการทุจริต แต่การฝ่าฝืนดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ จึงน่าจะเข้าข่ายประพฤติมิชอบ ครับ

        จึงเรียนมาเพื่อขอทราบความเห็นจากท่าน  ขอขอบคุณครับ 

    คำตอบ
    ทั้ง ๒ กรณีไม่เข้าข่ายต้องห้ามตาม ม. ๘ (๕) แต่ถ้ามีประวัติเช่นว่านั้น คณะกรรมการสรรหาเขาคงไม่คัดเลือกหรอก
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 กันยายน 2557